ถ้าจะไม่ยึดถือสังขาร ควรใช้ sense หรือไม่
กราบเรียนถามท่านอาจารย์ครับ ผมลองพิจารณาเรื่องสังขาร แต่มีความไม่เข้าใจครับ ระหว่างจิตตสังขาร กับ sense ที่อาจเกิดจากประสบการณ์บางอย่างสั่งสมไว้ ถ้าเราไม่ควรยึดถือสังขารใด ๆ (ในขันธ์ 5) แล้ว เราก็ไม่ควรใช้ sense หรือประสบการณ์หรือครับ กราบขอบพระคุณครับ
Sense เกิดจากวิสังขารครับ
สังขาร คือ ความคิด ความอยาก เจตนา ความยึดถือ อารมณ์ วาจา กาย ทั้งหมดนี้เกิดจากการปรุง และประกอบ
วิสังขาร คือ สภาวะปราศจากสังขาร จิตพรากจากสังขาร ซึ่งจะเกิดปัญญาแจ่มแจ้งสิ่งต่าง ๆ โดยตรง ปราศจากการปรุงประกอบ เป็นคนละระบบกับสังขาร
Sense ใดที่แจ่มแจ้งแล้ว จะถูกบันทึกไว้ในความทรงจำ เช่น เมื่อแจ่มแจ้งนิโรธบริสุทธิ์ สภาวะแจ้งนิโรธจะถูกบันทึกไว้เป็น 'นิพพานสัญญา" ระลึกเมื่อใด ก็แจ่มแจ้งเมื่อนั้น
ส่วน sense ใหม่เกิดได้ไม่จำกัดโดยธรรมชาติตามสภาวะวิสังขาร ไม่ต้องเตรียมการ เพียงยกระดับจิตให้หลุดจากสังขารเท่านั้น
เมื่อ sense บริสุทธิ์หมดจด เรียกว่า "ญาณ" เป็นปัญญาชั้นสูงที่มนุษย์สามารถพัฒนาได้ถึง
ถามต่อ
กราบขอบพระคุณครับท่านอาจารย์
แล้วเราจะสังเกตอย่างไรแบบง่าย ๆ ครับว่าอันไหน sense แท้ที่เกิดจากวิสังขาร และอันไหนเทียมที่เกิดจากสังขารครับ เพราะคนปกติอย่างผมคงยังผสมปนเปกันครับ
และบางครั้งสิ่งที่ผุดออกมาจากข้อมูลที่เราฟังเทศน์ของครูบาอาจารย์หรือหลักธรรมที่อ่านมาก็เป็นสิ่งที่ผมคิดว่าดี ไม่แน่ใจว่าอันนี้คือขันธ์หรือไม่ครับ
อาจารย์ไชย ณ พล ตอบ
ธรรมสัญญา คือ สัญญาขันธ์
บรรลุสภาวะธรรม คือ ญาณ
ตัวแยกระหว่าง สังขารกับวิสังขาร ที่ดีคือ
1. สังขารมีข้อมูล หรือความรู้สึกประกอบ
วิสังขารเป็น new insight beyond information and feeling
2. สังขารมีทั้งทึบแสง และแสงขุ่นมัว
วิสังขารมีแสงใสสนิท จนถึง beyond แสง