Main navigation

อริยสัจ ๔ ในชีวิตประจำวัน

Q ถาม :

กราบเรียนท่านอาจารย์ไชยครับ เมื่อสักครู่ผมได้ไปสวดมนต์กับคุณแม่ หลังจากสวดมนต์เสร็จ ผมได้ใคร่ครวญแล้วเกิดความเข้าใจในเรื่องของอริยสัจสี่ จึงอยากจะกราบเรียนขอให้ท่านอาจารย์ช่วยขัดเกลาเพิ่มเติมครับ

ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็น process ที่วนเรียงต่อกัน โดยมีทุกข์เป็นโจทย์ ว่าเราจะพ้นทุกข์อย่างไร

สมุทัย เป็นการเรียนรู้ ลองปฏิบัติ ค่อย ๆ ตัดสิ่งผิด ออกทีละข้อ

นิโรธ เป็นประสบการณ์พ้นสภาวะทุกข์ เมื่อได้นิโรธแล้ว

จากนั้น มรรค คือการย้อนประมวลผลว่า เราทำอะไรหนอจึงเกิดสภาวะนิโรธได้ โดยมรรคมีองค์ 8 ก็ต้องเริ่มสัมมาทิฏฐิมาก่อน ว่าเรารู้ทุกข์ มีประสบการณ์จากสภาวะทุกข์ และต้องการออกจากทุกข์ แล้วมรรคตัวอื่น ๆ มาประกอบกันจนพ้นทุกข์ได้

ดังนั้น เมื่อเราใช้กับโลก เช่น การลงทุน ก็แบบเดียวกัน โดยตั้งโจทย์จากการไม่ขาดทุนแล้วหนีเงินเฟ้อได้ ไม่กินทุน (เหมือนเราต้องการออกจากทุกข์) จากนั้นการลองทำจริง เมื่อผิดจากขาดทุน แล้วเราตัดวิธีผิด ๆ ออก คือ การเจอสมุทัย เมื่อสำเร็จอย่างต่อเนื่อง คือ นิโรธ

วิธีการที่สำเร็จ คือ มรรค

ดังนั้น เราสามารถใช้ process นี้กับโลกได้ด้วย เพียงแต่ 1) ต้องตั้งโจทย์ให้ถูกต้อง 2) เข้าใจสัจธรรมใหญ่ คือ อนัตตาและอนิจจัง 3) จากนั้นปฏิบัติมรรคอื่น ๆ ประกอบไปเรื่อย ๆ ตามทาง คือ right thoughts, right speech, right action, right livelihood, right effort, right mindfulness, right concentration

พอรู้แบบนี้แล้ว ต้องเข้าใจเรื่องปัจจัตตังด้วย คือ ลองด้วยตัวเอง สำเร็จด้วยตัวเอง คนอื่นสอนเอามาพิจารณาได้ แต่ไม่ใช่ของเรา ถ้าเรายังไม่สามารถปฏิบัติจนรู้จริงกับตัวเอง จึงเป็นทางสายที่พระพุทธเจ้า ท่านบอกว่าอย่าเพียงเชื่อตาม ๆ กัน แต่ให้เข้ามาลองทำเองครับ และเมื่อทำไปเรื่อย ๆ จะเริ่มเห็นทุกข์เป็นของดี เป็นสภาวะที่เราได้ประลองฝีมือ เหมือนที่ท่านอาจารย์ได้สอนผมว่าให้ลองทะลุทุกข์ออกไปครับ ถ้าผมทำได้ ทุกข์จะเป็นของดีของผมเช่นกัน และมรรคจะเป็นสมบัติของผมด้วยครับ

ผมขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ไชยครับ ท่านอาจารย์เป็นครูผู้สอน ทำให้ทุกวันนี้ผมค่อย ๆ เดินทีละก้าว ตามทางที่ถูกต้องมากขึ้น ดีขึ้นเรื่อย ๆ ครับ

A อาจารย์ไชย ณ พล ตอบ :

So good.

Sharpen the methodology in real practice.

 

 

คำที่เกี่ยวข้อง :

อริยสัจ ๔ การปฏิบัติ