Main navigation

ควรฝึกกรรมฐานใดให้แก้ปัญหาได้อย่างมีสติและปัญญา

Q ถาม :

กราบเรียนปรึกษาท่านอาจารย์ค่ะ อยากฝึกกรรมฐานที่เมื่อมีอะไรมากระทบใจ กระทบจิตแล้วให้เราวางเฉย ไม่มีโทสะ แก้ปัญหาอย่างมีสติและมีปัญญาอย่างใจเย็น มองรอบด้าน

ทุกวันนี้มีอาการโทสะ หงุดหงิดง่าย อะไรช้า ไม่ทัน ก็คิดแต่จะเร่ง และพอไม่ทัน อารมณ์โกรธเกิด ก็หลุด ขาดสติ พอได้สติก็รู้สึกสำนึกเสียใจ เบื่อว่าทำไมเราต้องมาเป็นแบบนี้

A อาจารย์ไชย ณ พล ตอบ :

บริหารจิตในระดับ quantum mind ครับ

โดยปกติ ภวังคจิตของผู้มีวุฒิภาวะทางจิตใจดี มักจะเป็นอุเบกขาอ่อน ๆ เมื่อมีความรับผิดชอบในภารกิจ กลไกการทำงานของจิตผู้บริหารมักเป็นไปได้สองทิศ คือ ขึ้นสุคติ หรือลงอบาย ดังนี้

ดำเนินการสู่ผล

ระบบ management
ปัญญา
อุเบกขา
อวิชชา
ตัวตน
อารมณ์

ในกิจเดียวกัน เมื่อวิถีจิตขับเคลื่อนเพื่อกอปรกิจ ให้สังเกตว่า จิตเคลื่อนตามทิศใด คือ

จากอุเบกขา เมื่อเปิดปัญญาย่อมเห็นระบบ management อันควรสู่ความสำเร็จ ก็ดำเนินการด้วยรสที่เหมาะสมกับแต่ละคนเพื่อผลที่ดีขึ้นต่อคนและภารกิจ

ผลโดยรวมสำเร็จหรือล้มเหลว ก็เข้าใจ และยอมรับเท่าที่เป็นไปได้

จากอุเบกขา เมื่ออวิชชาแอบชิงปรุงตัณหาก่อน ตัณหาจะปรุงความอยาก ความไม่อยาก ความอยากและความไม่อยากสร้างการยึดถือ การยึดถือสร้างภพ (ตัวตน) ตัวตนสร้างอารมณ์

หากปรุงอารมณ์กลัว ก็จะไม่จัดการใด ๆ ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ตาม authority จนเสียหาย หรือจัดการด้วยความวิตกกังวลปรุงแต่ง

หากปรุงความกล้าบ้าบิ่น ก็จะละเมิดผู้อื่นเกินขอบเขต authority สร้างปัญหาความสัมพันธ์ตามมา

ผลโดยรวมสำเร็จหรือล้มเหลว ก็เครียด

สำคัญที่สุด คือบริหารจิต at quantum mind เมื่อวิถีจิตเริ่มเคลื่อนเพื่อจะกอปรกิจ ให้จิตเคลื่อนด้วยปัญญา (ญาณสัมปยุตต์) เสมอ หากญาณวิปยุตต์ อวิชชาชิงปรุงตัณหา ให้รีบดับจิตนั้น แล้วกลับเข้าสู่ฐานอุเบกขาก่อน

เมื่อทรงอุเบกขาแล้ว เจริญโยนิโสมนสิการ (ทำใจให้แยบคาย) ส่องดูผลสำเร็จที่เป็นไปได้ ดูกลไกสู่ความสำเร็จ ดู key success factor ที่ต้องทำให้มีพร้อม ดู key failure factor ที่ต้องขจัดออกโดยเร็ว  

เมื่อปัญญาญาณเห็นชัดแล้ว ก็ประกอบ key success factor ให้ถูกส่วนอย่างนุ่มนวล และจัดการ key failure factor อย่างเด็ดขาด ความเด็ดขาดจะทำให้จิตไม่พัวพันในอารมณ์ อารมณ์ไม่มีโอกาสแตกตัวบานปลาย

เสร็จกิจแล้วก็กลับสู่ภวังคจิตแห่งอุเบกขาตามเดิม เพื่อความสบายแห่งจิต และพร้อมสำหรับกิจใหม่ 

กรรมฐาน คือ "Management by Quantum Mind"

ใช้สติปัญญาบริหารด้วยการประกอบ key success factor ให้ลงตัว ขจัด key failure factor โดยเด็ดขาดทันกาล โดยปราศจากการยึดถือความคาดหวังว่าทุกอย่างต้องดีพร้อมแล้ว แต่เรากำลังบริหารสิ่งที่ดีมาก ไม่ดีน้อย ให้ลงตัวกันได้ด้วยความสนุกสนาน เมื่อเสร็จกิจแล้วก็กลับสู่ฐานอุเบกขาตามเดิม สิ่งนี้สำคัญ หากไม่รีบกลับฐาน จิตจะเที่ยวปรุงเตลิดไป เหนื่อยมาก ผลน้อย และอาจเกิดผลเสียโดยไม่จำเป็น


 

คำที่เกี่ยวข้อง :

การบริหาร จิต ความโกรธ