Main navigation

เกณฑ์การทำงานร่วมกันให้สำเร็จ ถูกธรรม เป็นบุญ ไม่เป็นบาป

Q ถาม :

กราบเรียนท่านอาจารย์ค่ะ ทำอย่างไรทีมงานจึงจะทำงานได้สำเร็จถูกหลักธรรม เป็นบุญไม่เป็นบาปคะ เวลามีคนมาร่วมงานด้วย เราก็พยายามช่วยทุกคน แต่บางคนก็มีอันเป็นไป เพื่อความปลอดภัยของทุกคน ท่านอาจารย์กรุณาแนะนำให้หลักเกณฑ์ด้วยค่ะ

A อาจารย์ไชย ณ พล ตอบ :

ดีมากเลยที่ถาม หากเราทำงานอย่างมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนร่วมกัน การทำงานจะง่าย สนุก ความราบรื่นลงตัวสูง นำสู่ความสำเร็จง่าย ปัญหาน้อย มีบ้างก็แก้ไขได้โดยเร็ว

หลักเกณฑ์ที่เราควรใช้ในการทำงานร่วมกันหลัก ๆ มีดังนี้

1. หลักเกณฑ์แห่งความสำเร็จ

มีเป้าหมายร่วม ตามที่เราอธิษฐานกันทุกการประชุม คนที่ไม่มีเจตนารมณ์ที่หมดจด อย่างไรก็ทำไม่สำเร็จ อย่าไปเสียเวลากัน

สร้าง key success factor โดยลำดับ ขจัด key failure factor โดยเด็ดขาด คนที่ไม่มีคุณสมบัติเป็น success factor เลย แต่เป็น failure factor ไม่ควรให้ร่วมงานด้วยเลย

Smart and coherent processes เพื่อสร้างผลดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

Process management ที่ดี จะเป็นทั้งการขับเคลื่อนภารกิจสู่ความสำเร็จ ทั้งกลไกป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาด (error prevention) ทั้งกระบวนการแก้ไขปัญหาที่ไม่คาดคิด (solution to unexpected problem) ที่เกิดขึ้น

คนที่ชำนาญ process management ดี เป็นคนมีปัญญาดี หาวิธีแก้ไขสารพัดได้ ส่วนคนด้อยปัญญา ไม่มี good process management ก็จะเห็นทุกอย่างเป็นปัญหาไปหมด แล้วโวยวาย ขยายปัญหาเล็กให้เป็นปัญหาใหญ่ มีอาการประสาท พาตนและคนอื่นเครียดโดยไม่จำเป็น พวกนี้อย่าให้ทำอะไร เพราะตัวเขาเองยังจัดการตนเองไม่ได้เลย

2. หลักเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ

มาตรฐานสถาปัตยกรรมที่ดี ด้วย good concept, good function, good feeling, good value for the world.

มาตรฐานวิศวกรรม ที่ reliable ด้วย strength, safety and optimization.

มาตรฐานการจัดการที่ดี ที่คุ้มค่าเงิน คุ้มค่าเวลา คุ้มค่าการทุ่มเท ถูกมาตรฐานการบัญชี ถูกระบบภาษี

คนที่ไม่มีมาตรฐานดีใดสักอย่าง อย่าเสียเวลา 

3. หลักเกณฑ์ of Quality

ถูก Standard Specification คนชุ่ย ผิดสเปค ต้องให้แก้ไข จนกว่าจะได้สเปค

ถูก Satisfaction ของผู้สร้าง ผู้บริจาค ผู้ทำงาน ผู้ใช้สอย และสังคม คนจะเอาแต่ความถูกใจตน ไม่สนใจความถูกใจคนอื่น จิตใจคับแคบเกินไป ไม่ควรให้ทำ

ถูกประโยชน์สุขทุกฝ่าย ทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พาทุกจิตใจที่เกี่ยวข้องเจริญจริง คนที่ทำเพื่อประโยชน์ตนเท่านั้นทำงานการกุศลไม่ได้ จะได้บาป

4. หลักเกณฑ์ good governance ตามมาตรฐาน UN

ความเป็นธรรม fair basis for all คนไร้ความเป็นธรรมอย่าให้ทำ เพราะเมื่อไม่เป็นธรรม จะเป็นกรรมต่อกัน

เกณฑ์ความโปร่งใส คือ โปร่งและใส ผู้รับผิดชอบต้องมีอำนาจตัดสินใจ (อย่างถูก authority ถูกเกณฑ์วิชาชีพ สามารถตรวจสอบได้) ผู้ตัดสินใจต้องรับผิดชอบ (ตามขอบข่ายอันควร) ผู้ละเมิด authority ผู้อื่น และผู้ที่เชื่อถือไม่ได้ อย่าให้มาข้องเกี่ยว ระบบจะวิบัติ งานจะรวน 

เกณฑ์ความมีส่วนร่วม เพื่อเอา value ทุกคนมารวมกันเท่าที่ลงตัว ที่นี่เราจึงให้คนที่เคารพสิทธิ์ผู้อื่นและให้เกียรติกันด้วยดีมีส่วนร่วมมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ส่วนใครที่พยายามเอาความคิดความต้องการของตนเป็นใหญ่ ไม่เคารพผู้อื่น หลุดกระเด็นไปหลายคนแล้ว 

ผู้ที่ไม่มีเกณฑ์ good governance ทำงานใหญ่ไม่ได้ ยิ่งทำจะยิ่งมีปัญหา เพราะงานใหญ่เป็นงานของส่วนรวม เพื่อส่วนรวม ส่วนรวมของมูลนิธิ คือ universal scale จึงต้องใช้ universal standard

5. หลักเกณฑ์ระบบสากลจักรวาล

ถูกระบบโลก คือ ถูกกฎหมาย คนทำผิดกฎหมายทั้ง ๆ ที่รู้ ไม่เอาแน่

ถูกระบบกรรม คือ ถูกบุญ ไม่มีบาปปนเปื้อน อย่างที่เราทราบกันดี เราสร้างที่นี่ถวายพระพุทธเจ้าอย่างบริสุทธิ์ ที่ผ่านมา ใครทำบุญบริสุทธิ์กับที่นี่ก็เจริญทั้งทางโลกและทางธรรม พวกนี้ก็จะมั่นคงกับมูลนิธิฯ มาก ใครทำบาปก็จะวิบัติมาก มีอยู่คนหนึ่งเจตนาแกล้งมูลนิธิฯ ประมาณห้าเดือนต่อมาเสียชีวิตเลย อีกคนหนึ่งเจตนาเอาสมบัติมูลนิธิฯ ไม่กี่เดือนต่อมามีเหตุให้ต้องเสียทรัพย์ 200 ล้าน และปีถัดมาก็ป่วยหนัก อีกสองคนไม่พอใจผู้บริหารมูลนิธิฯ ที่ไม่ตามใจเขา จึงว่าร้ายผู้บริหารและมูลนิธิฯ หลังจากนั้น ลงทุนสองโปรเจค ก็เจ๊งทั้งสองโปรเจค ผลกรรมที่ทำต่อพระพุทธเจ้านั้น ทั้งดีทั้งชั่ว จะให้ผลทุกชาติจนกว่าเข้านิพพาน

ดังนั้น ใครทำบาปโดยเจตนา ให้ออกไปทันที เรื่องบุญบาปนี่ ต้องเตือนสติกันเนือง ๆ เพื่อให้ทุกคนที่เข้ามาเจริญอย่างปลอดภัยจริง ๆ โดยทำกิจให้เป็นบุญกุศลจริง และอย่าเปิดโอกาสให้ใครทำบาปเป็นอันขาด หากใครเผลอทำไปแล้ว หากสำนึกได้ สำนึกจริง ตั้งใจแก้ไขจริง ก็ควรให้โอกาสเขา ดีกว่าปล่อยให้อนาคตเขาหายนะอีกยาวนาน

ถูกระบบธรรม คือ ทำอย่างบริสุทธิ์ และเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์จริง คนไม่หมดจดก็จัดกลไกยกระดับจิตใจเขาก่อน ถ้าดีขึ้นมาก ก็มอบ authority ให้ ถ้าดีขึ้นนิดหน่อยก็กำกับพฤติกรรมให้อยู่ในกรอบศีลธรรม ใครยกไม่ขึ้นเลยก็อย่าเสียเวลาเพราะจะเจริญไม่ได้

นี่คือเกณฑ์หลัก ๆ 

ส่วนเกณฑ์ปลีกย่อย ค่อย ๆ พัฒนากันไปตามสถานการณ์จริงก็ได้  


เกณฑ์แห่งความดีงามนี่ ยิ่งประณีต ภูมิยิ่งสูง เช่น 

พระต้องปฏิบัติตามธรรมวินัย 227 ข้อ 

พรหมต้องเข้าอัปปมัญญาสี่ ฌานแปด วิโมกข์แปด

กษัตริย์ต้องมีกุศลกรรมบถสิบ และทศพิธราชธรรมสิบ  

มนุษย์ทั่วไปก็ต้องปฏิบัติกุศลกรรมบถสิบ หากปฏิบัติไม่ได้ ก็จะต่ำกว่าความเป็นมนุษย์

พัฒนากันเท่าที่เป็นไปได้ 

ใครพัฒนาได้ ก็ส่งเสริมให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป  

ใครพัฒนาไม่ได้ ก็ให้ไปสู่ที่ชอบที่ชอบเสีย อย่าเสี่ยง 

 

 

คำที่เกี่ยวข้อง :

ความสำเร็จ การงาน