Main navigation

การบริหารการลงทุน

Q ถาม :

สวัสดีครับท่านอาจารย์ ทราบว่าท่านอาจารย์ลงทุนในหุ้นหลายตัวและสามารถทำกำไรได้ดี ถ้าจะขอทราบเทคนิคการบริหารการลงทุนของท่านอาจารย์จะได้หรือไม่ครับ ผมพบว่าการลงทุนของผม จากที่ได้กำไรอยู่ดีๆ ก็มักจะกลายเป็นขาดทุนครับ กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ครับ

A อาจารย์ไชย ณ พล ตอบ :

การบริหารอนิจจัง สัพเพ สังขารา อนิจจาติ

ผู้นิยมบริหาร value ทั้งหลาย

การลงทุนเหมือนการเพาะปลูก มี invest แล้วมี harvest

เราควร invest เมื่อเป็นต้นกล้า (ราคายังเยา) มีดินน้ำลมอุณหภูมิอุดม (growth factor ดี)

อารยธรรมมนุษย์ ทำการ invest for harvest เพื่อขยายผล ไม่ใช่ invest for invest เพราะจะถมเท่าไรก็ไม่พอ  ดังนั้น พืชแม้พันธ์ดีแค่ไหน ก็ต้องเก็บเกี่ยวผล

เราควร harvest เมื่อแก่ (เต็มมูลค่าที่แท้จริง) สุกดีแล้ว (ไม่มี upside ให้โตแล้ว)

Harvest เสร็จแล้ว ก็ปลูกต้นกล้าใหม่ หรือหากต้นเดิมยังดีอยู่ก็บำรุงให้ออกผลใหม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพในขณะนั้น

หาก harvest ตั้งแต่ยังอ่อน ก็ได้ประโยชน์น้อย เพราะ value ยังไม่แก่

หากแก่แล้วไม่ harvest ก็จะค้างต้นอยู่อย่างนั้น เสียโอกาสทำการบ่มเพาะใหม่ ขยาย เพิ่มผลผลิต

หากสุกงอมจัด แล้วไม่ harvest ก็จะร่วงหล่น

หากผลหล่นลงมาแล้ว ก็ต้องดูให้ออกว่าผลใดสามารถงอกใหม่ได้ ก็หาที่ให้งอก ผลใดไม่สามารถงอกได้ ก็ต้องเก็บใช้สอย value ที่เหลืออยู่น้อยนั้น หากไม่เก็บจาก floor ก็จะเน่าเสียไป

การบริหารอนิจจังอย่างอนิจจัง เป็นสัจธรรม พอเป็นประโยชน์ในโลกนี้

การพยายามทำอนิจจังให้นิจจัง ผิดสัจธรรม นำมาซึ่งความผิดหวัง สูญเสียโอกาส และ value ที่พอมีพอได้

สิ่งที่ต้องอ่านให้ออกชัด คือ

สถานการณ์ ดินน้ำลมไฟเป็น growth factor สำหรับพันธุ์ใด

ต้นใดเป็นกล้าพันธุ์ดี

เมื่อใดจึงชื่อว่า value ยังอ่อน เมื่อใดแก่ เมื่อใดสุกงอม เมื่อใดใกล้เน่า

เมื่อใดเป็นฤดูเก็บเกี่ยวย่อย เมื่อใดเป็นฤดูต้องเก็บเกี่ยวใหญ่
 
ใครที่ไม่ถนัด harvest ไม่ควร invest ควรทำ regular job จะปลอดภัยกว่า

ใครที่บริหาร invest for harvest ได้ตามฤดูกาลที่เหมาะสม ก็จะสุขสม สบายใจ สบายกาย สบายกระเป๋า

 

 

 

ที่มา
12 April 2018 Line

คำที่เกี่ยวข้อง :