ความกรุณาที่เหมาะสม
Q
กราบท่านอาจารย์ครับ เมื่อผู้รู้ ลึก ทัน จิตส่งจิตเฉยด้วยปัญญา มันจะมีความสงบสุข ยิ้มอ่อน ๆ ในใจ เข้าใจว่าต้องขัดเกลาไปอีกเรื่อย แต่ขณะเดียวกัน มีความอยากผสมกับกรุณา ให้คนอื่นได้รับผลของความสงบสุขจากเรา แม้ปรอย ๆ ผมเป็นหลายครั้ง แต่ก็อดเผื่อคิดยั้งว่า นั่นอาจจะมีแฝงกิเลส เพราะเคยโปรยไปแต่คนข้าง ๆ รับไม่ได้เลย ขอคำแนะนำแก้ไขครับ กราบขอบพระคุณครับ
A
กรุณากับตัณหามักจะซ้อนกันอยู่เนือง ๆ เพราะความอยาก (ตัณหา) ให้เขาดีขึ้น จึงพยายามสงเคราะห์ (กรุณา)
เมื่อดับตัณหาหมดอยากแล้ว พระพุทธเจ้าจึงใฝ่พระทัยที่จะไม่สอน จนพรหมมาอาราธนา จึงพิจารณาความเป็นไปได้ เห็นว่าเป็นไปได้สำหรับคนมีกิเลสน้อยที่ศรัทธา จึงรับคำอาราธนา และประกาศว่า ใครปรารถนาจะฟังสัทธรรม จงปล่อยศรัทธามาเถิด
ดังนั้น ปัจจัยแห่งความสำคัญ คือ
1. มีผู้อาราธนา
2. สอนเฉพาะผู้มีกิเลสน้อย
3. สอนเฉพาะผู้มีศรัทธา
4. สอนเฉพาะผู้ถึงเวลาอันควร
เมื่อกรุณาโดยไม่อยาก จึงเห็นความพอเหมาะพอดีโดยสภาวะหลากหลาย ว่าควรสงเคราะห์หรือไม่ แค่ไหน ต่อใคร เมื่อไร รูปแบบใด เพื่อผลอันใด
ไม่ควร ก็สงบต่อ
ควร ก็กอปรกิจพอเหมาะพอดี