Main navigation
ภาวนา
Share:

(๑) ธรรมที่ควรภาวนา (เจริญ)

ธรรมอย่างหนึ่งควรเจริญ คือ กายคตาสติอันสหรคตด้วยความสำราญ

ธรรม ๒ ควรเจริญ คือ

สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑

ธรรม ๓ ควรเจริญ คือ สมาธิ ๓

สมาธิมีวิตกมีวิจาร ๑
สมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจาร ๑
สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ๑

ธรรม ๔ ควรเจริญ คือ สติปัฏฐาน ๔

ธรรม ๕ ควรเจริญ คือ สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ ได้แก่

ปีติแผ่ไป ๑
สุขแผ่ไป ๑
การกำหนดใจผู้อื่นแผ่ไป ๑
แสงสว่างแผ่ไป ๑
นิมิตเป็นเครื่องพิจารณา ๑

ธรรม ๖ ควรเจริญ คือ อนุสสติ ๖

พุทธานุสสติ (ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า) ๑
ธัมมานุสสติ(ระลึกถึงคุณพระธรรม) ๑
สังฆานุสสติ (ระลึกถึงคุณพระสงฆ์) ๑
สีลานุสสติ (ระลึกถึงศีล) ๑
จาคานุสสติ (ระลึกถึงทานที่ตนบริจาค) ๑
เทวตานุสสติ (ระลึกถึงคุณที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา) ๑

ธรรม ๗ ควรเจริญ คือ โพชฌงค์ ๗

สติสัมโพชฌงค์
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์

ธรรม ๘ ควรเจริญ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘

สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ (ประพฤติชอบ)
สัมมาอาชีวะ (อาชีพชอบ)
สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
สัมมาสมาธิ (ตั้งมั่นชอบ)

ธรรม ๙ ควรเจริญ คือ องค์อันเป็นประธานแห่งความบริสุทธิ์ (ปาริสุทธิ) ๙

ความหมดจดแห่งศีล
ความหมดจดแห่งจิต
ความหมดจดแห่งทิฐิ
ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย
ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง
ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ
ความหมดจดแห่งญาณทัสนะ
ความหมดจดแห่งปัญญา
ความหมดจดแห่งวิมุตติ

ธรรม ๑๐ ควรเจริญ คือ กสิณ ๑๐

ปฐวีกสิณ
อาโปกสิณ
เตโชกสิณ
วาโยกสิณ
นีลกสิณ (สีเขียว)
ปีตกสิณ (สีเหลือง)
โลหิตกสิณ (สีแดง)
โอทาตกสิณ (สีขาว)
อากาสกสิณ
วิญญาณกสิณ


(๒) ภาวนาเป็นปธาน (ความเพียร) อย่างหนึ่ง

๑. สังวรปธาน (เพียรระวัง)
๒. ปหานปธาน (เพียรละ)
๓. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ)
๔. อนุรักขนาปธาน ​(เพียรรักษา)

ก็ภาวนาปธาน เป็นไฉน

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ น้อมไปเพื่อความสละลง

นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน


ภาวนาเป็นปัญญาอย่างหนึ่ง

(๓) ปัญญาอีก ๓ อย่าง

๑. จินตามยปัญญา (ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด)
๒. สุตมยปัญญา (ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง)
๓. ภาวนามยปัญญา (ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรม)


ภาวนาเป็นบุญกิริยาวัตถุอย่างหนึ่ง

ปุญญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง

๑. ทานมัย (บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน)
๒. สีลมัย (บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล)
๓. ภาวนามัย (บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา)


ภาวนาประการต่าง ๆ

ภาวนา ๓ อย่าง

๑. กายภาวนา (การอบรมกาย)
๒. จิตตภาวนา (การอบรมจิต)
๓. ปัญญาภาวนา (การอบรมปัญญา)


(๔) ภาวนา ๒ คือ

โลกิยภาวนา ๑
โลกุตรภาวนา ๑


ภาวนา ๓ คือ

การเจริญธรรมอันเป็นรูปาวจรกุศล ๑
การเจริญธรรมอันเป็นอรูปาวจรกุศล ๑
การเจริญกุศลธรรมอันไม่นับเนื่องในโลก (โลกุตรกุศล) ๑

การเจริญธรรมอันเป็นรูปาวจรกุศล เป็นส่วนเลวก็มี เป็นส่วนปานกลางก็มี เป็นส่วนประณีตก็มี

การเจริญธรรมอันเป็นอรูปาวจรกุศล เป็นส่วนเลวก็มี เป็นส่วนปานกลางก็มี เป็นส่วนประณีตก็มี

การเจริญกุศลธรรมอันไม่นับเนื่องในโลก เป็นส่วนประณีตอย่างเดียว


ภาวนา ๔ คือ

เมื่อแทงตลอดทุกขสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา ชื่อว่าเจริญอยู่ ๑

เมื่อแทงตลอดสมุทัยสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยปหานะ ชื่อว่าเจริญอยู่ ๑

เมื่อแทงตลอดนิโรธสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา ชื่อว่าเจริญอยู่ ๑

เมื่อแทงตลอดมรรคสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยภาวนา ชื่อว่าเจริญอยู่ ๑


ภาวนา ๔ อีกประการหนึ่ง คือ

เอสนาภาวนา ๑
ปฏิลาภภาวนา ๑
เอกรสาภาวนา ๑
อาเสวนาภาวนา ๑

เอสนาภาวนาเป็นไฉน

เมื่อเข้าสมาธิอยู่ ธรรมทั้งหลายที่เกิดในธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้นนั้น มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้จึงชื่อว่า เอสนาภาวนา

ปฏิลาภภาวนาเป็นไฉน

เมื่อเข้าสมาธิแล้ว ธรรมทั้งหลายที่เกิดในสมาธินั้น ไม่เป็นไปล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้จึงชื่อว่า ปฏิลาภภาวนา

เอกรสาภาวนาเป็นไฉน

อินทรีย์ ๕

เมื่อเจริญสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ อินทรีย์อีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน

เมื่อเจริญวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ อินทรีย์อีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน

เมื่อเจริญสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น อินทรีย์อีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน

เมื่อเจริญสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน อินทรีย์อีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน

เมื่อเจริญปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น อินทรีย์อีก ๔ อย่าง มีกิจอย่างเดียวกันด้วยสามารถปัญญินทรีย์ เพราะฉะนั้นชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน


พละ ๕

เมื่อเจริญสัทธาพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอสัทธิยะ พละอีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัทธาพละ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่าพละทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน

เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะโกสัชชะ พละอีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถวิริยพละ...

เมื่อเจริญสติพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะปมาทะ พละอีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสติพละ...

เมื่อเจริญสมาธิพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ พละอีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสมาธิพละ...

เมื่อเจริญปัญญาพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา พละอีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถปัญญาพละ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าพละทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน


โพชฌงค์ ๗

เมื่อเจริญสติสัมโพชฌงค์ ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น โพชฌงค์อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสติสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน

เมื่อเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าเลือกเฟ้น โพชฌงค์อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถธรรมวิจยสัมโพชฌงค์...

เมื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ โพชฌงค์อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถวิริยสัมโพชฌงค์...

เมื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าซาบซ่านไป โพชฌงค์อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถปีติสัมโพชฌงค์...

เมื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าสงบ โพชฌงค์อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถปัสสัทธิสัมโพชฌงค์...

เมื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน โพชฌงค์อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสมาธิสัมโพชฌงค์...

เมื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าพิจารณาหาทาง โพชฌงค์อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถอุเบกขาสัมโพชฌงค์เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน


มรรค ๘

เมื่อเจริญสัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็นชอบ องค์มรรคอีก ๗ อย่างมีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาทิฐิ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าองค์มรรคทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน

เมื่อเจริญสัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าตรึก องค์มรรคอีก ๗ อย่างมีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสังกัปปะ...

เมื่อเจริญสัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนดเอา องค์มรรคอีก ๗ อย่างมีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาวาจา...

เมื่อเจริญสัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน องค์มรรคอีก ๗ อย่างมีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมากัมมันตะ...

เมื่อเจริญสัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าผ่องแผ้ว องค์มรรคอีก ๗ อย่างมีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาอาชีวะ...

เมื่อเจริญสัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ องค์มรรคอีก ๗ อย่างมีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาวายามะ...

เมื่อเจริญสัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น องค์มรรคอีก ๗ อย่างมีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาสติ..

เมื่อเจริญสัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน องค์มรรคอีก ๗ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาสมาธิ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนาด้วยอรรถว่าองค์มรรถทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ภาวนานี้ ชื่อว่าเอกรสาภาวนา


อาเสวนาภาวนาเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งสมาธิที่ถึงความสำราญ ตลอดเวลาเช้าก็ดี ตลอดเวลาเที่ยงก็ดี ตลอดเวลาเย็นก็ดี ตลอดเวลาก่อนภัตก็ดี ตลอดเวลาหลังภัตก็ดี ตลอดยามต้นก็ดี ตลอดยามหลังก็ดี ตลอดคืนก็ดี ตลอดวันก็ดี ตลอดคืนและวันก็ดี ตลอดกาฬปักษ์ก็ดี ตลอดชุณหปักษ์ก็ดี ตลอดฤดูฝนก็ดี ตลอดฤดูหนาวก็ดี ตลอดฤดูร้อนก็ดี ตลอดส่วนวัยต้นก็ดี ตลอดส่วนวัยกลางก็ดี ตลอดส่วนวัยหลังก็ดี ภาวนานี้ชื่อว่าอาเสวนาภาวนา


(๔) (๕) ภาวนา ๔ อีกประการหนึ่ง คือ

ภาวนาด้วยอรรถว่า ไม่ล่วงกันและกันแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น ๑

ภาวนาด้วยอรรถว่า อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ๑

ภาวนาด้วยอรรถว่า นำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้น ๆ ๑

ภาวนาด้วยอรรถว่า เสพเป็นอันมาก (เป็นที่เสพ) ๑


ภาวนาด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกันแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นอย่างไร

เมื่อละกามฉันทะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถเนกขัมมะย่อมไม่ล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกันแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น

เมื่อละพยาบาท ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถความไม่พยาบาทย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละถีนมิทธะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอาโลกสัญญาย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละอุทธัจจะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่านย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละวิจิกิจฉา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถการกำหนดธรรมย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละอวิชชา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถแห่งญาณย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละอรติ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถความปราโมทย์ย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละนิวรณ์ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถปฐมฌานย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละวิตกและวิจาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถทุติยฌานย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละปีติ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถตติยฌานย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละสุขและทุกข์ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถจตุตถฌานย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอากาสานัญจายตนสมาบัติย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละอากาสานัญจายตนสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิญญาณัญจายตนสมาบัติย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละวิญญาณัญจายตนสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอากิญจัญญายตนสมาบัติย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละอากิญจัญญายตนสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละนิจจสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอนิจจานุปัสนาย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละสุขสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถทุกขานุปัสนาย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละอัตตสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอนัตตานุปัสนาย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละความเพลิดเพลิน ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถนิพพิทานุปัสนาย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละราคะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิราคานุปัสนาย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละฆนสัญญา (ความหมายจำว่าเป็นกลุ่มก้อน) ธรรมทั้งหลายเกิดด้วยสามารถขยานุปัสนา (ปัญญาคำนึงเห็นความสิ้นไป) ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละสมุทัย ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถนิโรธานุปัสนาย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละความถือมั่น ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถปฏินิสสัคคานุปัสนา (ปัญญาคำนึงด้วยความสลัดทิ้ง) ย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละอายูหนะ (การทำความเพียรเพื่อประโยชน์แก่สังขาร) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวยานุปัสนา (ปัญญาคำนึงเห็นความเสื่อมไป) ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละธุวสัญญา (ความสำคัญว่ายั่งยืน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิปริณามานุปัสนา (ปัญญาคำนึงเห็นความปรวนแปร) ย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละนิมิต (สิ่งที่ถือเอาเป็นเครื่องหมายในความเป็นกลุ่มเป็นก้อน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอนิมิตตานุปัสนา (ปัญญาคำนึงเห็นความไม่มีนิมิต) ย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละปณิธิ (ความปรารถนาด้วยอำนาจตัณหา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอัปปณิหิตานุปัสนา (ปัญญาคำนึงเห็นเป็นสิ่งไม่น่าปรารถนา) ย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละอภินิเวส (ความยึดมั่นว่ามีตัวตน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถสุญญตานุปัสนา (ปัญญาคำนึงเห็นความว่างเปล่า) ย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละสาราทานาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยการถือว่าเป็นแก่นสาร) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา (ความเห็นแจ้งซึ่งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง) ย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละสัมโมหาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยความหลงใหล) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถยถาภูตญาณทัสนะ (ความรู้เห็นตามจริง) ย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละอาลยาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยความอาลัย) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอาทีนวานุปัสนา (ปัญญาคำนึงเห็นโทษ) ย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละอัปปฏิสังขา (ความไม่พิจารณา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถปฏิสังขานุปัสนา (ปัญญาคำนึงด้วยพิจารณาหาทางพ้น) ย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละสัญโญคาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยอำนาจสังโยคะ) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถด้วยวิวัฏฏนุาปัสนา (ปัญญาคำนึงเห็นวิวัฏฏะ คือทางพ้นจากวัฏฏะ) ย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับทิฐิ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถโสดาปัตติมรรคย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละกิเลสอย่างหยาบ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถสกทาคามิมรรคย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละกิเลสอย่างละเอียด ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยความสามารถอนาคามิมรรคย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละกิเลสทั้งปวง ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยความสามารถอรหัตมรรคย่อมไม่ล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงกันและกัน ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงกันและกันอย่างนี้


ชื่อว่าภาวนาด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกันอย่างไร

เมื่อละกามฉันทะ อินทรีย์ ๕ มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน

เมื่อละพยาบาท อินทรีย์ ๕ มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถความไม่พยาบาท ฯลฯ (ซ้ำหัวข้อเช่นเดียวกับ ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงกันและกัน)

เมื่อละกิเลสทั้งหมด อินทรีย์ ๕ มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน

ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน อย่างนี้


ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้น ๆ อย่างไร

เมื่อละกามฉันทะ ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วยสามารถเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้น ๆ

เมื่อละพยาบาท ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วยสามารถความไม่พยาบาท ฯลฯ (ซ้ำหัวข้อเหมือนกับ ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงกันและกัน)

เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วยสามารถอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้น ๆ ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้น ๆ อย่างนี้


ชื่อว่าภาวนาด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมากอย่างไร

เมื่อละกามฉันทะ ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก

เมื่อละพยาบาท ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งความไม่พยาบาท ฯลฯ (ซ้ำหัวข้อเช่นเดียวกับ ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงกันและกัน)

เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก

ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมากอย่างนี้


ภาวนา ๔ ประการนี้ คือ

พิจารณาเห็นรูป ชื่อว่าเจริญภาวนา
พิจารณาเห็นเวทนา ชื่อว่าเจริญภาวนา
พิจารณาเห็นสัญญา ชื่อว่าเจริญภาวนา
พิจารณาเห็นสังขาร ชื่อว่าเจริญภาวนา
พิจารณาเห็นวิญญาณ ชื่อว่าเจริญภาวนา

พิจารณาเห็นจักษุ ชื่อว่าเจริญภาวนา
พิจารณาเห็นโสตะ ชื่อว่าเจริญภาวนา
พิจารณาเห็นฆานะ ชื่อว่าเจริญภาวนา
พิจารณาเห็นชิวหา ชื่อว่าเจริญภาวนา
พิจารณาเห็นกาย ชื่อว่าเจริญภาวนา
พิจารณาเห็นมโน ชื่อว่าเจริญภาวนา

พิจารณาเห็นชราและมรณะ ชื่อว่าเจริญภาวนา

พิจารณาเห็นนิพพานอันหยั่งลงในอมตะด้วยอรรถว่าเป็นที่สุด ชื่อว่าเจริญภาวนา

ธรรมใด ๆ เป็นธรรมอันเจริญแล้ว ธรรมนั้น ๆ ย่อมมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน


ผู้มีกายภาวนา จิตภาวนาอบรมแล้ว

(๖) ก็บุคคลที่มีกายมิได้อบรม มีจิตมิได้อบรมเป็นอย่างไร

ปุถุชนในโลกนี้ ผู้มิได้สดับ มีสุขเวทนาเกิดขึ้น เขาถูกสุขเวทนากระทบเข้าแล้ว มีความยินดีนักในสุขเวทนา และถึงความเป็นผู้ยินดีนักในสุขเวทนา สุขเวทนาของเขานั้นย่อมดับไป

เพราะสุขเวทนาดับ ก็มีทุกขเวทนาเกิดขึ้น เขาถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ก็เศร้าโศก ลำบากใจ รำพัน คร่ำครวญ ตบอก ถึงความหลงไหล

แม้สุขเวทนานั้นเกิดขึ้นแก่เขาแล้ว ก็ครอบงำจิตตั้งอยู่เพราะเหตุที่มิได้อบรมกาย

แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้นแล้วก็ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่มิได้อบรมจิต

แม้สุขเวทนาเกิดขึ้นแก่ปุถุชนคนใดคนหนึ่ง ก็ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่มิได้อบรมกาย

แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ก็ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่มิได้อบรมจิตทั้งสองอย่างดังนี้

บุคคลที่มีกายมิได้อบรมมีจิตมิได้อบรม เป็นอย่างนี้แหละ


บุคคลที่มีกายอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้วเป็นอย่างไร

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ มีสุขเวทนาเกิดขึ้น เขาถูกสุขเวทนากระทบเข้าแล้ว ไม่มีความยินดีนักในสุขเวทนา และไม่ถึงความเป็นผู้ยินดีนักในสุขเวทนา สุขเวทนาของเขานั้นย่อมดับไป

เพราะสุขเวทนาดับ ก็มีทุกขเวทนาเกิดขึ้น เขาถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ก็ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน คร่ำครวญ ตบอก ไม่ถึงความหลงไหล แม้สุขเวทนานั้นเกิดขึ้นแก่อริยสาวกแล้ว ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้อบรมกาย

แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้นก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้อบรมจิต

แม้สุขเวทนาเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ใดผู้หนึ่ง ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้อบรมกาย แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้นก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้อบรมจิตทั้งสองอย่างนี้

บุคคลที่มีกายอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้วเป็นอย่างนี้

 

 

อ้างอิง:
(๑) ทสุตตรสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง ๑๑/๓๖๔-๔๗๓/๒๕๑-๒๘๘
(๒) สังคีติสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ ข้อที่ ๓๐๓
(๓) สังคีติสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ ข้อที่ ๒๒๘ หน้า ๑๗๐-๑๗๑
(๔) ภาเวตัพพนิเทส สุตมยญาณ ญาณกถา ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๑ ข้อที่ ๖๘ - ๗๖
(๕) ยุคนัทธกถา ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๑ ข้อที่ ๕๓๕
     สติปัฏฐานกถา ปัญญาวรรค พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๑ ข้อที่ ๗๒๗
(๖) มหาสัจจกสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ ข้อที่ ๔๓๙
 

คำต่อไป