Main navigation

ปัญญาสูตร

ว่าด้วย
เหตุปัจจัยที่ให้ได้ปัญญา
เหตุการณ์
พระพุทธเจ้าแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเรื่องเหตุปัจจัยที่ให้ได้ปัญญา

เหตุปัจจัย ๘ ประการเพื่อได้ปัญญาอันยังไม่ได้ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว

๑.  อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรักและความเคารพไว้อย่างแรงกล้า

๒.  เข้าไปหาแล้วไต่ถาม สอบถามเป็นครั้งคราวว่าภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมเปิดเผยข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้แจ้งข้อที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งและบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายประการแก่เธอ

๓.  ฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมยังความสงบ ๒ อย่าง คือ ความสงบกายและความสงบจิตให้ถึงพร้อม

๔.  เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรมีปรกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

๕.  เป็นพหูสูต จำสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก จำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง

๖.  ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความพร้อมมูลแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม

๗.  ไม่พูดเรื่องต่างๆ ไม่พูดเรื่องไม่เป็นประโยชน์  ย่อมแสดงธรรมเองบ้าง ย่อมเชื้อเชิญผู้อื่นให้แสดงบ้าง ย่อมไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่างพระอริยเจ้า

๘.  พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า

รูปเป็นดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้

เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้

สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้ ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้

สังขารทั้งหลายเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้ ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้

วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้

เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ก็เป็นไปเพื่อความรัก ความเคารพ ความสรรเสริญ เพื่อการบำเพ็ญสมณธรรม เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ฯ

อ้างอิง
ปัญญาสูตร พระไตรปิฏก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๙๒ หน้า ๑๑๘-๑๒๑
ลำดับที่
5

สถานที่

ไม่ระบุ

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม