Main navigation

คัททูลสูตรที่ ๒

ว่าด้วย
อุปมาขันธ์ห้าด้วยเสาล่ามสุนัข
เหตุการณ์
พระผู้มีพระภาค ทรงอุปมาขันธ์ ๕ กับสุนัขที่ถูกล่ามไว้กับเสา และความวิจิตรของจิต กับภาพนิทรรศการ

พระพุทธเจ้าทรงเปรียบอุปาทานขันธ์ว่า

เหมือนสุนัขที่เขาผูกไว้ด้วยเชือก ถูกล่ามไว้ที่หลักหรือเสาอันมั่นคง ถ้ามันเดิน ยืน นั่ง นอน มันก็ย่อมเดิน ยืน นั่ง นอนใกล้หลักหรือเสานั้นเอง

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ก็ฉันนั้น ย่อมตามเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา

ปุถุชนนั้น ถ้าแม้เดิน ยืน นั่ง นอน เขาก็ย่อมเดิน ยืน นั่ง นอน ใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง

เพราะเหตุนั้น  พึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า จิตนี้เศร้าหมองแล้วด้วยราคะ โทสะ โมหะ

สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง ย่อมบริสุทธิ์ เพราะจิตผ่องแผ้ว

ภาพนิทรรศการนั้น ช่างเขียนคิดแล้วด้วยจิต. จิตนั้นแหละ วิจิตรกว่าภาพนิทรรศการนั้น

ทรงไม่พิจารณาเห็นหมู่สัตว์แม้เพียงหมู่หนึ่ง ซึ่งวิจิตรเหมือนอย่างสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายนี้ 

สัตว์ดิรัจฉานเหล่านี้ คนคิดด้วยจิต จิตนั่นแหละวิจิตรกว่าสัตว์ดิรัจฉานเหล่านั้น

ช่างย้อมหรือช่างเขียน เมื่อมีเครื่องย้อมก็ดี ครั่งก็ดี ขมิ้นก็ดี สีเขียวก็ดี สีแดงก็ดี เขียนรูปสตรีหรือรูปบุรุษ มีอวัยวะใหญ่น้อยครบทุกส่วน ฉันใด

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ก็ฉันนั้น เมื่อจะให้เกิด ย่อมยังรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั่นแหละให้เกิด

เพราะเหตุนั้น พึงพิจารณาจิตของตนเนือง ๆ ว่า จิตนี้เศร้าหมองแล้วด้วยราคะ โทสะ โมหะ

รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณไม่เที่ยง

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น ครั้นหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.
 

อ่านพระสูตรเต็ม คัททูลสูตรที่ ๒

อ้างอิง
คัททูลสูตรที่ ๒ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ ข้อที่ ๒๕๘-๒๕๙ หน้า ๑๔๒-๑๔๓
ลำดับที่
25

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม