Main navigation

พรหมชาลสูตร ตอนที่ ๔

ว่าด้วย
ฐานะของผู้ถือทิฏฐิ
เหตุการณ์
พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่าผู้กล่าวคำแสดงทิฏฐิด้วยเหตุ ๖๒ ประการ เป็นความเข้าใจของผู้ไม่รู้ไม่เห็น มีทิฏฐิเหล่านั้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

บุคคลกำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ ๖๒ ประการ เป็นความเข้าใจของผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหา กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ ๖๒ ประการ ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

บุคคลเหล่านั้นทุกจำพวกถูกต้องแล้วด้วยผัสสายตนะทั้ง ๖ ย่อมเสวยเวทนา เพราะเวทนาของเขาเหล่านั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิด ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ คุณและโทษแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากผัสสายตนะเหล่านั้น เมื่อนั้น ภิกษุนี้ย่อมรู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด

บุคคลถูกทิฏฐิ ๖๒ อย่างเหล่านี้แหละเป็นดุจข่ายปกคลุมไว้ อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ ติดอยู่ในข่ายนี้ ถูกข่ายปกคลุมไว้ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ ไม่พ้นจากชาติ ชรา และมรณะ

แล้วทรงกล่าวกับพระอานนท์ให้จำธรรมบรรยายนี้ว่าอรรถชาละก็ได้ ว่าธรรมชาละก็ได้ ว่าพรหมชาละก็ได้ ว่าทิฏฐิชาละก็ได้ ว่าพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมก็ได้



อ่าน พรหมชาลสูตร

อ้างอิง
พรหมชาลสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๙ ข้อที่ ๘๙-๙๐ หน้า ๔๓-๔๔
ลำดับที่
5

Keywords

ทิฏฐิ

สถานการณ์

การปฏิบัติธรรม

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม