Main navigation

พหุเวทนิยสูตร

ว่าด้วย
เวทนาหลายประเภท
เหตุการณ์
ณ เชตวนาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี นายช่างไม้ปัญจกังคะสนทนากับพระอุทายีเรื่องเวทนา ท่านพระาทนนท์กราบทูลการสนทนานั้นแก่พระผู้มีพระภาค

นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะถามท่านพระอุทายีว่า พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้เท่าไร

ท่านพระอุทายีตอบว่า พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑

นายช่างไม้ตอบว่าพระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ เพราะอทุกขมสุขเวทนา พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้ในสุขอันสงบ อันประณีตแล้ว

ท่านพระอุทายีและนายช่างไม้ถามตอบกันถึง 3 ครั้ง ก็ไม่สามารถจะให้อีกฝ่ายยอมตามคำของตนได้

เมื่อท่านพระอานนท์ได้ฟังถ้อยคำเจรจาของท่านพระอุทายีกับนายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ได้กราบทูลถ้อยคำเจรจาทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาค

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ทรงกล่าวเวทนา ๒ โดยปริยาย ถึงเวทนา ๓ เวทนา ๔ เวทนา ๕ เวทนา ๖ เวทนา ๑๘ เวทนา ๓๖ เวทนา ๑๐๘ ก็ทรงกล่าวแล้วโดยปริยาย

ธรรมอันทรงแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้ ผู้ใดไม่รู้ตามด้วยดี ไม่สำคัญตามด้วยดี ไม่ยินดีตามด้วยดี ซึ่งคำที่กล่าวดี พูดดีของกันและกัน ในธรรมที่ทรงแสดงโดยปริยายอย่างนี้แล้ว ผู้นั้นจะได้ผลอันนี้ คือ จักบาดหมาง ทะเลาะวิวาททิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่

ส่วนผู้ใดรู้ตามด้วยดี สำคัญตามด้วยดี ยินดีตามด้วยดี ซึ่งคำที่กล่าวดี พูดดี ของกันและกันในธรรมที่แสดงโดยปริยายอย่างนี้แล้ว ผู้นั้นจะได้ผลอันนี้ คือ จักพร้อมเพรียง บันเทิง ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมระคนกับน้ำ แลดูกันด้วยสายตาเป็นที่รักอยู่.

แล้วทรงกล่าวต่อไปว่า

กามคุณ ๕

กามคุณ ๕ คือ

รูปอันจะพึงรู้ด้วยจักษุ
เสียงอันจะพึงรู้โดยโสต
กลิ่นอันจะพึงรู้ด้วยฆานะ
สอันจะพึงรู้ด้วยชิวหา
โผฏฐัพพะอันจะพึงรู้ด้วยกาย

อันสัตว์ปรารถนาใคร่ พอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด นี้กามคุณ ๕ สุขโสมนัสอันใดย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ นี้ สุขและโสมนัสนี้
ทรงกล่าวว่ากามสุข

สุขในรูปฌานและอรูปฌาน

ทรงไม่ยอมรับถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสมีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ยังมีอยู่ คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่ากามสุขนี้

สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้สุขอื่นที่ดี
ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขกามสุขนี้

สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีอุเบกขา มีสติมีสัมปชัญญะและเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข นี้สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้

สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีต
กว่าสุขนี้

สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาได้ เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาอยู่ นี้สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุข

สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้

สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า หน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้สุขอื่นอันดียิ่งกว่าและประณีตกว่า
สุขนี้

สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้

สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้

ข้อที่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสสัญญาเวทยิตนิโรธไว้แล้ว แต่บัญญัติลงในสุข ข้อนี้นั้นจะเป็นไฉน ข้อนี้นั้นเป็นอย่างไรเล่า ดังนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้

อัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนี้ ท่านควรจะกล่าวตอบว่า

พระผู้มีพระภาคจะทรงหมายสุขเวทนาอย่างเดียว แล้วบัญญัติไว้ในสุขหามิได้ แต่บุคคลได้สุขในที่ใด ๆ พระตถาคตย่อมบัญญัติที่นั้น ๆ ไว้ในสุข

 

อ่าน พหุเวทนิยสูตร

 

อ้างอิง
พหุเวทนิยสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ ข้อที่ ๙๗-๑๐๒
ลำดับที่
4

สถานการณ์

การปฏิบัติธรรม

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม