Main navigation

อาทิตตปริยายสูตร

ว่าด้วย
อาทิตตบรรยาย
เหตุการณ์
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอาทิตตปริยายแก่ภิกษุทั้งหลาย

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

อาทิตตปริยายและธรรมปริยาย เป็นไฉน

บุคคลแทงจักขุนทรีย์ด้วยหลาวเหล็กร้อน มีไฟติดโพลง
บุคคลเกี่ยวโสตินทรีย์ด้วยขอเหล็กคม มีไฟติดโพลง
คว้านฆานินทรีย์ด้วยมีดตัดเล็บคม มีไฟติดโพลง
เฉือนชิวหินทรีย์ด้วยมีดโกนคม มีไฟติดโพลง
แทงกายินทรีย์ด้วยหอกคม มีไฟติดโพลง

ยังดีกว่าการถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ด้วยหู ด้วยลิ้น ด้วยกาย จะดีอะไร วิญญาณอันเนื่องด้วยความยินดีในนิมิต หรือเนื่องด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะพึงตั้งอยู่

ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาในสมัยนั้น พึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ทรงเห็นโทษอันนี้ จึงกล่าวอย่างนี้

ความหลับยังดีกว่า แต่ทรงกล่าวความหลับว่าเป็นโทษ ไร้ผล เป็นความโง่เขลาของบุคคลผู้เป็นอยู่

ตนลุอำนาจของวิตกเช่นใดแล้ว พึงทำลายสงฆ์ให้แตกกันได้ บุคคลไม่ควรตรึกถึงวิตกเช่นนั้นเลย

ทรงเห็นโทษนี้ว่าเป็นอาทีนพ (โทษ) ของบุคคลผู้เป็นอยู่

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

จักขุนทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหลาวเหล็กร้อน ไฟลุกโพลงแล้ว
โสตินทรีย์ที่บุคคลเกี่ยวด้วยขอเหล็กคม ไฟลุกโพลงแล้ว
ฆานินทรีย์ที่บุคคลคว้านด้วยมีดตัดเล็บคม ไฟลุกโพลงแล้ว
ชิวหินทรีย์ที่บุคคลเฉือนด้วยมีดโกนคม ไฟลุกโพลงแล้ว
กายินทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหอกคม ไฟลุกโพลงแล้ว

จงงดไว้ก่อน จะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า

จักษุไม่เที่ยง รูปไม่เที่ยง จักษุวิญญาณไม่เที่ยง จักษุสัมผัสไม่เที่ยง

หูไม่เที่ยง เสียงไม่เที่ยง โสตวิญญาณไม่เที่ยง โสตสัมผัสไม่เที่ยง

จมูกไม่เที่ยง กลิ่นไม่เที่ยง ฆานวิญญาณไม่เที่ยง ฆานสัมผัสไม่เที่ยง

ลิ้นไม่เที่ยง รสไม่เที่ยง ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง

กายไม่เที่ยง โผฏฐัพพะไม่เที่ยง กายวิญญาณไม่เที่ยง กายสัมผัสไม่เที่ยง

ใจไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง

สุขเวทนา ทุกขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เพราะโสตสัมผัส เพราะฆานสัมผัส เพราะชิวหาสัมผัส เพราะกายสัมผัส เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในรูป แม้ในจักษุวิญญาณ แม้ในจักษุสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสต แม้ในเสียง แม้ในโสตวิญญาณ แม้ในโสตสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ แม้ในกลิ่น แม้ในฆานวิญญาณ แม้ในฆานสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา แม้ในรส แม้ในชิวหาวิญญาณ แม้ในชิวหาสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย แม้ในโผฏฐัพพะ แม้ในกายวิญญาณ แม้ในกายสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ แม้ในธรรมารมณ์ แม้ในมโนวิญญาณ แม้ในมโนสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

 

 

อ่าน อาทิตตปริยายสูตร

อ้างอิง
อาทิตตปริยายสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ ข้อที่ ๓๐๓-๓๐๔
ลำดับที่
15

สถานที่

ไม่ระบุ

สถานการณ์

การปฏิบัติธรรม

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม