Main navigation

สุภูติสูตร

ว่าด้วย
ลักษณะของผู้มีศรัทธา
เหตุการณ์
ท่านพระสุภูติกับสัทธภิกษุ ผู้เป็นบุตรของอุบาสกผู้มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงแสดงลักษณะของผู้มีศรัทธา

พระผู้มีพระภาคตรัสถามสุภูติภิกษุว่าสัทธภิกษุเห็นพร้อมในลักษณะของผู้มีศรัทธาทั้งหลายหรือ แล้วทรงแสดงลักษณะแห่งผู้มีศรัทธา

ลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา

ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย  สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

ภิกษุเป็นผู้มีสุตะมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดี ด้วยทิฐิซึ่งธรรมทั้งหลาย อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี

ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุสาสนีโดยเคารพ

ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกรณียกิจทั้งสูงและต่ำของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกรณียกิจนั้น อาจทำ อาจจัดได้

ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม กล่าวคำเป็นที่รัก เป็นผู้มีความปราโมทย์อย่างยิ่ง ในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง

ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม

ภิกษุเป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

ภิกษุระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมากพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ (ปุพเพนิวาสาสนุสติญาณ)

ภิกษุเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม (จุตูปปาตญาณ)

ภิกษุทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ (อาสวักขยญาณ)

เมื่อสุภูติภิกษุกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่าสัทธภิกษุมีลักษณะของผู้ศรัทธาพร้อมอยู่ พระผู้มีพระภาคทรงกล่าวว่าในกาลใดสุภูติภิกษุและสัทธภิกษุพึงหวังจะมาเยี่ยมเยือนพระผู้มีพระภาค ในกาลนั้น พึงเข้ามาเยี่ยมเยือน

 

 

อ่าน สุภูติสูตร

 

อ้างอิง
สุภูติสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๒๒๑ หน้า ๓๑๒-๓๑๖
ลำดับที่
13

สถานที่

ไม่ระบุ

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม