Main navigation

ปุริสคติสูตร

ว่าด้วย
ปุริสคติ ๗ และอนุปาทาปรินิพพาน
เหตุการณ์
พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเรื่องปุริสคติ ๗ ประการและอนุปาทาปรินิพพาน

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงปุริสคติ ๗ ประการและอนุปาทาปรินิพพาน ว่าดังนี้

ภิกษุในธรรมวินัยเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มี อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมี

ถ้ากรรมในปัจจุบันไม่มี อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มี

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ

ก็บทนั้น ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้ อนุสัย คือมานะ อนุสัย คือภวราคะ อนุสัย คืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

ปุริสคติ ๗ ประการ และอุปมาช่างตีเหล็ก

ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานในระหว่าง

ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานในระหว่าง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออก แล้วดับไป

ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานในระหว่าง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่ถึงพื้นก็ดับ

ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ

ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนขึ้นไป แล้วตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้าหรือกองไม้เล็ก ๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควัน เผากองหญ้าหรือกองไม้เล็ก ๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ

ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป แล้วพึงตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อม ๆ สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟและควันที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อม ๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกองไม้ย่อม ๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วดับ

ภิกษุนั้นเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป แล้วพึงตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ ๆ ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ ๆ นั้นให้หมดไป แล้วพึงลามไปไหม้ไม้กอและป่าไม้ ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขาที่สุดชายน้ำหรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ

อนุปาทาปรินิพพาน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มี อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมี
ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มี อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มี
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ

ก็บทนั้น อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

 

 

อ่าน ปุริสคติสูตร

อ้างอิง
ปุริสคติสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๕๒
ลำดับที่
2

สถานที่

ไม่ระบุ

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม