Main navigation

อรหันตสูตร

ว่าด้วย
อินทรีย์ ๕ อาศัยผัสสะเกิดเวทนา
เหตุการณ์
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงที่ตั้งแห่งเวทนาแก่ภิกษุทั้งหลาย

พระผู้มีพระภาคตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า

อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ

สุขินทรีย์
ทุกขินทรีย์
โสมนัสสินทรีย์
โทมนัสสินทรีย์
อุเปกขินทรีย์

สุขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาเกิดขึ้น

ภิกษุนั้นสบายกาย ก็รู้ชัดว่าสบายกาย ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ สุขินทรีย์ ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป

ทุกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาเกิดขึ้น

ภิกษุนั้นไม่สบายกาย ก็รู้ชัดว่าเราไม่สบายกาย ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ ทุกขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป

โสมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนาเกิดขึ้น

ภิกษุนั้นสบายใจ ก็รู้ชัดว่าเราสบายใจ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ โสมนัสสินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.

โทมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนาเกิดขึ้น

ภิกษุไม่สบายใจ ก็รู้ชัดว่า เราไม่สบายใจ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ โทมนัสสินทรีย์ที่อาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป

อุเปกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้น

ภิกษุนั้นรู้สึกเฉย ๆ ก็รู้ชัดว่า เรารู้สึกเฉย ๆ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ อุเปกขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป

เปรียบเหมือนไม้ ๒ อันเสียดสีกันจึงเกิดความร้อน เกิดไฟขึ้น เพราะแยกไม้ ๒ อันนั่นเองให้ออกจากกันเสีย ความร้อนที่เกิดเพราะความเสียดสี ย่อมดับสงบไป ฉันนั้น เหมือนกัน

 

อ่าน อรหันตสูตร

อ้างอิง
อรหันตสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ ข้อที่ ๙๔๙-๙๕๕
ลำดับที่
9

สถานที่

ไม่ระบุ

สถานการณ์

การปฏิบัติธรรม

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม