Main navigation

อุมมัคคสูตร

ว่าด้วย
ผู้มีปัญญาใฝ่รู้
เหตุการณ์
ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปถามคำถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงตอบคำถามและชมเชยว่า ปัญญาของเธอหลักแหลม ปฏิภาณของเธอดีจริง ปริปุจฉาของเธอเข้าที

ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้

โลกอันอะไรแลนำไป โลกอันอะไรชักมา และบุคคลย่อมลุอำนาจของอะไรที่บังเกิดขึ้นแล้ว

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

โลกอันจิตแลนำไป อันจิตชักมา และบุคคลย่อมลุอำนาจของจิตที่บังเกิดขึ้นแล้ว

ที่เรียกว่า บุคคลเป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

เราแสดงธรรมเป็นอันมาก คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ถ้าภิกษุรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแห่งคาถา ๔ บาทแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ก็ควรเรียกว่า เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม

ที่เรียกว่า บุคคลผู้สดับมีปัญญาชำแรกกิเลส ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้สดับมีปัญญาชำแรกกิเลส

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา และเห็นแจ้งแทงตลอดเนื้อความแห่งคำที่สดับนั้นด้วยปัญญา บุคคลนั้นเป็นผู้สดับมีปัญญาชำแรกกิเลส

ที่เรียกว่า บุคคลผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นบัณฑิตมีปัญญามาก

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

บุคคลผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามากในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตน เบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น เมื่อคิด ย่อมคิดเพื่อเกื้อกูลแก่ตน เกื้อกูลแก่ผู้อื่น หรือเกื้อกูลแก่ตนและผู้อื่น และเกื้อกูลแก่โลกทั้งหมดทีเดียว
 

 


อ่าน อุมมัคคสูตร

อ้างอิง
อุมมัคคสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ ข้อที่ ๑๘๖ หน้า ๑๗๒
ลำดับที่
3

สถานที่

ไม่ระบุ

สถานการณ์

การตอบปัญหาธรรม

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม