Main navigation

ฉันนสูตร

ว่าด้วย
เหตุต้องละราคะ โทสะ โมหะ
เหตุการณ์
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตะวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ฉันนปริพาชกถามพระอานนท์ว่าเห็นโทษของราคะ โทสะ โมหะ อย่างไร จึงต้องบัญญัติการละราคะ โมหะ โทสะ

บุคคลผู้ถูกราคะ โทสะ โมหะ ครอบงำ ย่อมคิดจะเบียดเบียนตนเองบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นบ้าง เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง  

เมื่อละราคะ โมหะ โทสะได้แล้ว ย่อมไม่คิดจะเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นบ้าง ไม่เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต  

บุคคลผู้ถูกราคะ โมหะ โทสะ รัดรึงจิตไว้ ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ  

เมื่อละราคะ โมหะ โทสะ ได้แล้ว ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ  

บุคคลผู้ถูกราคะ โมหะ โทสะ รัดรึงจิตไว้ ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง  

เมื่อละราคะ โมหะ โทสะได้แล้ว ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตน และผู้อื่นตามความเป็นจริง  

ความกำหนัดทำให้เป็นคนมืด ทำให้เป็นคนไร้จักษุ ทำให้ไม่รู้อะไร ทำปัญญาให้ดับ เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน 

ปฏิปทาแห่งการละซึ่ง ราคะ โมหะ โทสะ คือ การเจริญมรรคมีองค์ 8

 

อ่าน ฉันนสูตร

อ้างอิง
ฉันนสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ ข้อที่ ๕๑๑ หน้า ๒๐๔-๒๐๗
ลำดับที่
7

สถานที่

วิหารเชตวัน

สถานการณ์

การตอบปัญหาธรรม

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม