Main navigation

อุปาลีสูตร

ว่าด้วย
พระอุบาลีขออนุญาตอยู่ป่า
เหตุการณ์
พระอุบาลีขออนุญาตพระพุทธเจ้าว่าจะไปอยู่ป่า แต่ทรงไม่อนุญาตเพราะการอยู่ป่าอยู่ยาก จะนำใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิไปเสีย

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าป่าและราวป่าอันสงัดอยู่ลำบาก ทำความวิเวกได้ยาก ยากที่จะอภิรมย์ในการอยู่ผู้เดียว ป่าจะนำใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิไปเสีย

ผู้ใดกล่าวว่าเมื่อเราไม่ได้สมาธิ จะเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด ผู้นั้นจำต้องหวังผล คือ จมลงหรือจักฟุ้งซ่าน โดยทรงอุปมาการอยู่ป่าของบุคคลผู้ยังไม่มีสมาธิว่า เปรียบเหมือนกระต่ายที่ต้องการเล่นน้ำในแม่น้ำเช่นเดียวกับช้าง เมื่อก้าวลงไปเล่นน้ำ ก็จะจมลง ต่างจากช้างซึ่งมีตัวใหญ่สามารถยืนเล่นน้ำได้ 

แล้วทรงอุปมาถึงการเล่นของเด็ก ๆ ว่าจะเปลี่ยนการเล่นให้ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าตามวัยที่โตขึ้น เช่นเดียวกับการอยู่ของภิกษุที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าตามลำดับ

ภิกษุประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร สติสัมปชัญญะอันเป็นอริยะนี้ ซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง  ภิกษุนั้นอยู่ป่า อยู่โคนไม้  หรืออยู่เรือนว่างเปล่า ย่อมนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ละนิวรณ์ ๕ ได้แล้ว

ครั้นละนิวรณ์อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญาให้ทึบ ๕ ประการนี้ได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อน

สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมนี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด 

ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อน

ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า  ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุ

การอยู่เช่นนี้เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อน

ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อน

เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง

ภิกษุจึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงว่า อากาศไม่มีที่สุ

การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีต  กว่าการอยู่อันมีในก่อน

เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง

ภิกษุจึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยคำนึงว่า วิญญาณไม่มีที่สุด

การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีต  กว่าการอยู่อันมีในก่อน

เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง

ภิกษุจึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงว่า หน่อยหนึ่งไม่มี

เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง

ภิกษุจึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยคำนึงว่า ธรรมชาตินี้สงัด ธรรมชาตินี้ประณีต 

การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อน

เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง

ภิกษุจึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอยู่ และอาสวะของภิกษุนั้นเป็นกิเลสหมดสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา

การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า การอยู่อันมีในก่อน

สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมนี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวกเหล่านั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน

แล้วจึงทรงบอกให้พระอุบาลีอยู่ในสงฆ์ เมื่ออยู่ในสงฆ์ ความสำราญจักมี

 

 

อ่าน อุปาลีสูตร

อ้างอิง
อุปาลีสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๙๙ หน้า ๑๗๒ - ๑๗๘
ชุดที่
ลำดับที่
16

สถานที่

ไม่ระบุ

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม