สมนุปัสสนาสูตร
สมณะหรือพราหมณ์ย่อมพิจารณาเห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นตนหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง
อุปาทานขันธ์ ๕ คือ
การตามเห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นตน ๑
ตามเห็นตนมีขันธ์ ๕ ๑
ตามเห็นขันธ์ ๕ ในตน ๑
ตามเห็นตนในขันธ์ ๕ ๑
การตามเห็นด้วยประการดังนี เป็นอันผู้นั้นยึดมั่นถือมั่นว่า เราเป็น เมื่อผู้นั้นยึดมั่นถือมั่นว่า เราเป็น อินทรีย์ ๕ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ ย่อมหยั่งลง
มนะมีอยู่ ธรรมทั้งหลายมีอยู่ อวิชชาธาตุมีอยู่ เมื่อปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเสวยอารมณ์ซึ่งเกิดจากอวิชชาสัมผัสแล้ว ย่อมมีความยึดมั่นถือมั่นว่า เราเป็นดังนี้บ้าง นี้เป็นเราดังนี้บ้าง เราจักเป็นดังนี้บ้าง จักไม่เป็นดังนี้บ้าง จักมีรูปดังนี้บ้าง จักไม่มีรูปดังนี้บ้าง จักมีสัญญาดังนี้บ้าง จักไม่มีสัญญาดังนี้บ้าง จักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ดังนี้บ้าง.
อินทรีย์ ๕ ย่อมตั้งอยู่เพราะการตามเห็นนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น เพราะความคลายไปแห่งอวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา
อริยสาวกย่อมไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในอินทรีย์เหล่านั้นว่า เราเป็นดังนี้บ้าง นี้เป็นเราดังนี้บ้าง เราจักเป็นดังนี้บ้าง จักไม่เป็นดังนี้บ้าง จักมีรูปดังนี้บ้าง จักไม่มีรูปดังนี้บ้าง จักมีสัญญาดังนี้บ้าง จักไม่มีสัญญาดังนี้บ้าง จักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ดังนี้บ้าง
อ่าน - สมนุปัสสนาสูตร