Main navigation

อุทานสูตร

ว่าด้วย
การตัดสังโยชน์และความสิ้นอาสวะ
เหตุการณ์
พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานว่า ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขารจักไม่มี การปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ และอธิบายอุทานนี้

พุทธอุทาน

ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า
ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มี การปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้
พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้

พระพุทธองค์ทรงกล่าวการตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ ด้วยอาการดังนี้

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม มิได้รับการแนะนำในอริยธรรม ในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีขันธ์ ๕ ย่อมเห็นขันธ์ ๕ ในตน ย่อมเห็นตนในขันธ์ ๕ ย่อมไม่ทราบชัดขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริงว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา อันปัจจัยปรุงแต่ง. ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่าขันธ์ ๕ มี

ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรม ได้รับการแนะนำดีในอริยธรรมในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่พิจารณาเห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นตน ย่อมไม่พิจารณาเห็นตนมีขันธ์ ๕  ย่อมไม่พิจารณาเห็นขันธ์ ๕ ในตน  ย่อมไม่พิจารณาเห็นตนในขันธ์ ๕ ย่อมทราบชัดขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริงว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา อันปัจจัยปรุงแต่ง  ทราบชัดตามความเป็นจริงว่าขันธ์ ๕ มี

พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า เมื่อบุคคลรู้เห็นดังนี้ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปในกาลเป็นลำดับ

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม มิได้รับการแนะนำในอริยธรรม ในสัปปุริสธรรม ย่อมถึงความสะดุ้ง ในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง ดังนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี แม้ขันธ์ ๕ ของเราก็ไม่มี กรรมสังขารจักไม่มี ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี ดังนี้.

ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรม ได้รับการแนะนำดีในอริยธรรมในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่ถึงความสะดุ้งในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง ดังนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี ขันธ์ ๕ ของเราก็ไม่มี กรรมสังขารจักไม่มี ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี ดังนี้

วิญญาณที่เข้าถึงขันธ์ ๕ เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ มีขันธ์ ๕ เป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์

การมา การไป จุติ อุปบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณที่เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

ถ้าภิกษุละความกำหนัดในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ อารมณ์ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี

 

 

อ่าน - อุทานสูตร

อ้างอิง
อุทานสูตร พระไตรปิฎ กฉบับหลวง เล่ม ๑๗ ข้อที่ ๑๐๘-๑๑๑ หน้า ๕๕ - ๕๗
ชุดที่
ลำดับที่
15

สถานการณ์

การปฏิบัติธรรม

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม