Main navigation

พระอานนท์เยี่ยมไข้

เหตุการณ์
ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย เป็นไข้หนัก จึงนิมนต์พระอานนท์มายังบ้าน พระอานนท์ได้เทศนาธรรมเรื่องผู้กลัวความตายเพราะไม่มีธรรม ๔ ประการ

 

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า ธรรม ๔ ประการนี้ คือ

๑.  ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า เห็นความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าในตน
๒.  ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระธรรม เห็นความไม่เลื่อมใสในพระธรรมในตน
๓.  ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ เห็นความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์อยู่ในตน
๔.  ประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีล เห็นความเป็นผู้ทุศีลนั้นอยู่ในตน
 
อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า ธรรม ๔ ประการนี้คือ

๑.  ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว  เป็นผู้จำแนกธรรม เห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าอยู่ในตน

๒.  ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน เห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมอยู่ในตน

๓.  ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติสมควร คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรของทำบุญ ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า เห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์อยู่ในตน

๔.  ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท วิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ เห็นศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วนั้นอยู่ในตน

เมื่อฟังจบท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกล่าวว่าท่านไม่กลัวความตายด้วยว่าท่านเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

พระอานนท์กล่าวว่าเป็นลาภของท่านอนาถบิณฑกบดีแล้ว ท่านได้ดีแล้ว โสดาปัตติผลท่านได้พยากรณ์แล้ว

 


อ่าน ทุสีลยสูตรที่ ๒

อ้างอิง
ทุสีลยสูตรที่ ๒ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ ข้อที่ ๑๕๖๘-๑๕๗๓ หน้าที่ ๓๘๒-๓๘๔
ชุดที่
ลำดับที่
6

สถานที่

ไม่ระบุ

อารมณ์

กังวล กลัว

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม