Main navigation

พระพุทธองค์ทรงเยี่ยมไข้

เหตุการณ์
พระผู้มีพระภาคทรงเสด็จเยี่ยมฑีฆาวุอุบาสกผู้ป่วย เป็นไข้หนัก พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงองค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา ๔ และให้พิจารณาธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ๖ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ทีฆาวุอุบาสกได้ทำกาละ เป็นอุปปติกะ (พระอนาคามี) เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป จะปรินิพพานในภพนั้น

 

เมื่อทีฆาวุอุบาสกกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่าตนอดทนไม่ได้ ทุกขเวทนากำเริบหนัก ไม่ทุเลาลงเลย พระผู้มีพระภาคได้ทรงกล่าวกับทีฆาวุอุบาสกว่า เพราะเหตุนั้น ทีฆาวุอุบาสกพึง

องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา ๔

๑.  เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม  

๒.  เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน 

๓.  เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติสมควร คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรของทำบุญ ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

๔.  เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย วิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ 

และทรงกล่าวต่อไปว่า เมื่อฑีฆาวุอุบาสกได้ตั้งอยู่ในองค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา ๔ แล้ว ให้เจริญธรรมอันเป็นส่วนแห่งวิชชา ๖ ให้ยิ่งขึ้นไปด้วยการพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงว่าเป็นของไม่เที่ยง  มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า เป็นทุกข์  มีความสำคัญในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า เป็นอนัตตา มีความสำคัญในการละ มีความสำคัญในความคลายกำหนัด  มีความสำคัญในการดับ   

เมื่อฑีฆาวุกราบทูลพระพุทธเจ้าว่าไม่อยากให้บิดาของตนเป็นทุกข์ โชติยคฤหบดีก็ได้บอกฑีฆาวุว่าอย่าได้ใส่ใจถึงเรื่องนี้ จงใส่ใจพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสให้ดี

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจากไปไม่นาน ฑีฆาวุอุบาสกก็ทำกาละ เป็นอุปปาติกะ เพราะสังโยชน์ ๕ สิ้นไป



อ่าน ฑีฆาวุสูตร

อ้างอิง
ฑีฆาวุสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง ๑๙/๑๔๑๖-๑๔๒๔/๓๔๕-๓๔๗
ชุดที่
ลำดับที่
8

อารมณ์

กังวล กลัว

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม