Main navigation

ความเป็นอนิจจังแห่งเวทนา

เหตุการณ์
พระอัสสชิเป็นไข้หนัก พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปหาอัสสชิภิกษุถึงที่อยู่ พระอัสสชิกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ทุกขเวทนาของตนกำเริบ ไม่ทุเลาลงเลย และมีความรำคาญ ความเดือนร้อนอยู่ไม่น้อย

 

พระผู้มีพระภาคตรัสถามพระอัสสชิว่าหากติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้ จะมีความรำคาญและความเดือดร้อนอะไร

พระอัสสชิกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ตนระงับกายสังขาร (ลมหายใจเข้าออก) ได้อย่างลำบาก จึงไม่ได้สมาธิ เมื่อไม่ได้สมาธิ จึงเกิดความคิดว่า เราไม่เสื่อมหรือ

พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าสมณพราหมณ์ที่มีสมาธิเป็นสาระ มีสมาธิเป็นสามัญญะ เมื่อไม่ได้สมาธินั้น ย่อมเกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายไม่เสื่อมหรือ  แล้วทรงแสดงธรรมต่อไปว่า 

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ควรที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา

เมื่อได้เสวยสุขเวทนา หรือ ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ก็ทราบชัดว่า เวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน ปราศจากความยินดียินร้ายในการเสวยเวทนานั้น

หากว่าเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด หรือ มีชีวิตเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า ก่อนแต่จะสิ้นชีวิตเพราะกายแตก ความเสวยอารมณ์ทั้งมวลในโลกนี้ไม่น่ายินดี จักเป็นของเย็น
 



อ่าน อัสสชิสูตร

อ้างอิง
อัสสชิสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ ข้อที่ ๒๒๒-๒๒๔ หน้า ๑๒๐-๑๒๒
ชุดที่
ลำดับที่
28

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม