ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
ถ้าภิกษุหวังว่าจะอยู่ด้วยวิหารธรรมคือสุญญตสมาบัติเป็นส่วนมาก พึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเข้าไปบิณฑบาตยังทางใด กลับจากบิณฑบาตทางใด ในทางนั้น ๆ เรามีความพอใจ ความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง หรือความกระทบกระทั่งทางใจในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต... ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ... ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา... ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย... ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน บ้างไหม
ถ้ามี พึงพยายามละอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นเสีย
ถ้าไม่มี พึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น
ภิกษุพึงพิจารณาว่า
- เราละกามคุณ ๕
- ละนีวรณ์ ๕
- กำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕
- เจริญสติปัฏฐาน ๔
- เจริญสัมมัปปธาน ๔
- เจริญอิทธิบาท ๔
- เจริญอินทรีย์ ๕
- เจริญพละ ๕
- เจริญโพชฌงค์ ๗
- เจริญมรรค ๘ อันประเสริฐ
- เจริญสมถะและวิปัสสนา
- ทำวิชชาและวิมุตติให้แจ้ง
แล้วหรือยัง
ถ้ายัง พึงพยายามทำเสีย
ถ้าทำแล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนือง ๆ ในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น
ผู้ทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์แล้วในอดีตทั้งหมด พิจารณาแล้วอย่างนี้ จึงทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ได้
ผู้จะทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ในอนาคตทั้งหมด ต้องพิจารณาแล้วอย่างนี้ จึงจะทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ได้
ผู้กำลังทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์อยู่ในปัจจุบันทั้งหมด ย่อมพิจารณาแล้วอย่างนี้ จึงทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ได้
เพราะฉะนั้น พึงสำเหนียกว่า จักพิจารณาแล้ว ทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์
อ่าน ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม
ธรรมปฏิบัติ
พระธรรม
วิเวก
พระธรรม
ธรรมวิภังค์
พระธรรม
เวทัลลธรรม
พระธรรม
ความไม่ประมาท
พระธรรม
อานุภาพกรรม
พระธรรม
สุคติ สุคโต
พระธรรม
ครอบครัวโดยธรรม