Main navigation

พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร

ว่าด้วย
อัจฉริยธรรมของพระพักกุลเถระ
เหตุการณ์
เมื่ออเจละกัสสปทราบว่าท่านพระพักกุละบวชมานาน ๘๐ พรรษาแล้ว จึงได้สอบถามเรื่องการปฏิบัติธรรมของท่านพระพักกุละ ได้รู้ถึงอัจฉริยธรรมของพระพักกุลเถระ จึงได้ขอบรรพชา และไม่นานได้เป็นพระอรหันต์ ต่อมาท่านพระพักกุละ ได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์และแจ้งว่าวันนี้จักเป็นวันปรินิพพานของท่านและได้นั่งปรินิพพานในท่ามกลางภิกษุสงฆ์

อัจฉริยธรรมของพระพักกุลเถระตลอด ๘๐ พรรรษา ที่ท่านได้บวช ซึ่งอเจลกัสสปกล่าวว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ได้แก่

-  ไม่รู้สึกกามสัญญาเคยเกิดขึ้น
-  ไม่รู้สึกพยาบาทสัญญาเคยเกิดขึ้น
-  ไม่รู้สึกวิหิงสาสัญญาเคยเกิดขึ้น
-  ไม่รู้สึกกามวิตกเคยเกิดขึ้น
-  ไม่รู้สึกพยาบาทวิตกเคยเกิดขึ้น
-  ไม่รู้สึกวิหิงสาวิตกเคยเกิดขึ้น
-  ไม่รู้สึกยินดีคหบดีจีวร
-  ไม่รู้จักใช้ศาตราตัดจีวร
-  ไม่รู้จักใช้เข็มเย็บจีวร
-  ไม่รู้จักใช้เครื่องย้อมจีวร
-  ไม่รู้จักเย็บจีวรในสะดึง
-  ไม่รู้จักจัดทำจีวรของเพื่อนภิกษุร่วมประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน
-  ไม่รู้สึกยินดีกิจนิมนต์
-  ไม่เคยเกิดจิตเห็นปานนี้ว่า ขอใคร ๆ พึงนิมนต์เราเถิด
-  ไม่รู้จักนั่งในละแวกบ้าน
-  ไม่รู้จักแสดงธรรมแก่มาตุคาม แม้ที่สุดคาถา ๔ บาท
-  ไม่รู้จักเข้าไปสู่สำนักของภิกษุณี
-  ไม่รู้จักแสดงธรรมแก่ภิกษุณี
-  ไม่รู้จักแสดงธรรมแก่สิกขมานา
-  ไม่รู้จักแสดงธรรมแก่สามเณรี
-  ไม่รู้จักให้บรรพชา
-  ไม่รู้จักให้อุปสมบท
-  ไม่รู้จักให้นิสสัย
-  ไม่รู้จักใช้สามเณรอุปัฏฐาก
-  ไม่รู้จักอาบน้ำในเรือนไฟ
-  ไม่รู้จักใช้จุณอาบน้ำ
-  ไม่รู้จักยินดีการนวดฟั้นตัวของเพื่อนภิกษุร่วมประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน
-  ไม่เคยเกิดอาพาธแม้ชั่วขณะรีดนมโคสำเร็จ
-  ไม่รู้จักฉันยาที่สุดแม้ชิ้น
-  ไม่รู้จักอิงพนัก
-  ไม่รู้จักสำเร็จการนอน
-  ไม่รู้จักจำพรรษาในเสนาสนะใกล้เขตบ้าน
-  เป็นผู้ยังมีกิเลสต้องรณรงค์ ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเพียง ๗ วันเท่านั้น ต่อวันที่ ๘ พระอรหัตผลจึงเกิดขึ้น
-  ได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์และแจ้งว่าวันนี้จักเป็นวันปรินิพพานของท่าน และนั่งปรินิพพานในท่ามกลางภิกษุสงฆ์



อ่าน พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
 

อ้างอิง
พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ ข้อที่ ๓๘๐-๓๘๗ หน้า ๒๐๑-๒๐๔
ลำดับที่
6

สถานการณ์

การปฏิบัติธรรม

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม