สมุคคสูตร
ภิกษุผู้ประกอบอธิจิตพึงกำหนดไว้ในใจซึ่งนิมิต ๓ คือ สมาธินิมิต ๑ ปัคคาหนิมิต ๑ อุเบกขานิมิต ๑ ตลอดกาล ตามกาล
ถ้าภิกษุกำหนดไว้ในใจเฉพาะสมาธินิมิตโดยส่วนเดียว จะเป็นเหตุให้จิตเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
ถ้าภิกษุพึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะปัคคาหนิมิตโดยส่วนเดียว จะเป็นเหตุให้จิตเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน
ถ้าภิกษุพึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะอุเบกขานิมิตโดยส่วนเดียว จะเป็นเหตุให้จิตไม่ตั้งมั่นเพื่อความสิ้นอาสวะ
เมื่อภิกษุกำหนดไว้ในใจซึ่งนิมิต ๓ คือ สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต ตลอดกาล ตามกาล จิตนั้นย่อมอ่อนควรแก่การงาน ผุดผ่อง ไม่เสียหาย แน่วแน่เป็นอย่างดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
ภิกษุนั้นย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง และย่อมเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ เป็นอยู่
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า
เราพึงแสดงฤทธิ์ได้นานาประการ
เราพึงฟังเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์
เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ
เราพึงระลึกชาติก่อน ๆ ได้เป็นอันมาก
เราพึงเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ
เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ภิกษุนั้นย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้น ๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ เป็นอยู่
อ่าน สมุคคสูตร