Main navigation

รถสูตร

ว่าด้วย
อุบายเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
เหตุการณ์
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมมากด้วยความสุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน และย่อมปรารภอุบายเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมมากด้วยความสุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน และย่อมปรารภอุบายเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย คือ

เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑
เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ๑
เป็นผู้ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ๑
           
ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยจักษุ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อความสำรวมอินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น
           
ผู้รู้ประมาณในโภชนะ คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายบริโภคอาหาร ด้วยมนสิการว่า ไม่บริโภคเพื่อเล่น เพื่อความมัวเมา เพื่อจะประดับ เพื่อจะตกแต่ง เพียงเพื่อดำรงอยู่แห่งร่างกายนี้ เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป เพื่อจะกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การยังชีพให้เป็นไป ความไม่มีโทษและความอยู่สบาย จักมีแก่เรา

ผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ คือ

ในเวลากลางวัน ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดีด้วยการเดิน การนั่ง 
ปฐมยาม ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดีด้วยการเดิน การนั่ง
มัชฌิมยาม ย่อมสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะทำไว้ในใจซึ่งอุฏฐานสัญญา (ซึ่งการจะลุกขึ้น)
ปัจฉิมยาม ก็ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมเครื่องกั้นความดีด้วยการเดิน การนั่ง



อ่าน รถสูตร

 

อ้างอิง
รถสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ ข้อที่ ๓๑๗–๓๑๙ หน้า ๑๙๕-๑๙๖
ลำดับที่
13

สถานที่

ไม่ระบุ

อารมณ์

ขี้เกียจ

สถานการณ์

การปฏิบัติธรรม

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม