วิราคธรรมเป็นธรรมอันเลิศ ประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย
(๑) ธรรมที่เป็นปัจจัยปรุงแต่งก็ดี ที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งก็ดี มีประมาณเท่าใด วิราคะ คือ ธรรมอันย่ำยีความเมา กำจัดความกระหาย ถอนเสียซึ่งอาลัย เข้าไปตัดวัฏฏะ เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับ นิพพาน บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น
ชนเหล่าใดเลื่อมใสในวิราคธรรม ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ก็วิบากอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
(๒) บรรดาทาง ทางมีองค์ ๘ ประเสริฐที่สุด
บรรดาสัจจะ สัจจะ ๔ ประเสริฐที่สุด
บรรดาธรรม วิราคธรรมประเสริฐที่สุด
บรรดาทวิบท พระตถาคตผู้มีจักษุ ประเสริฐที่สุด
วิราคะคือมรรคเพื่อความดับแห่งสักกายะและทุกข์
(๓) ก็สักกายนิโรธเป็นไฉน
คือ ความดับโดยไม่เหลือแห่งตัณหา ด้วยมรรค คือ วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่มีอาลัย
(๔) ก็ทุกขนิโรธเป็นไฉน
คือ ความดับโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั่นแล ด้วยมรรค คือ วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่มีความอาลัย
วิราคะเป็นเหตุแห่งวิมุตติ
(๕) เพราะเบื่อหน่าย (นิพพิทา) ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมคลายกำหนัด (วิราคะ) เพราะคลายกำหนัด จึงบริสุทธิ์
(๖) เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ
(๗) เรากล่าวแม้ซึ่งวิมุตติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิมุตติ ควรกล่าวว่า วิราคะ
เรากล่าวแม้ซึ่งวิราคะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิราคะ ควรกล่าวว่า นิพพิทา
เรากล่าวแม้ซึ่งนิพพิทาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนิพพิทา ควรกล่าวว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ
เรากล่าวแม้ซึ่งยถาภูตญาณทัสสนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ควรกล่าวว่าสมาธิ ฯลฯ
น้อมวิราคะ อาศัยวิราคะในการอบรมจิตเพื่อละสังโยชน์ เพื่อนิพพาน วิชชา และวิมุตติ
(๘) ก็ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญย่อมเจริญวิริยินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสตินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสมาธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
อินทรีย์ ๕ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญย่อมเจริญวิริยินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสตินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสมาธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล
(๙) ก็ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ ๕ อย่างไร ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัทธาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญย่อมเจริญวิริยพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสติพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสมาธิพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญปัญญาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
พละ ๕ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล พละ ๕ เป็นไฉน คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัทธาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญย่อมเจริญวิริยพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสติพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสมาธิพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญปัญญาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
พละ ๕ เหล่านี้อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้
(๑๐) ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาวาจา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาสัมมากัมมันตะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาสัมมาวายามะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาสัมมาสติ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
(๑๑) โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญธัมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
โพชฌงค์ ๗ อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้สมบูรณ์
(๑๒) ก็ภิกษุเจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไร ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญธัมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ภิกษุเจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
เจริญอริยมรรคและอินทรีย์มีวิราคะอย่างไร
(๑๓) ภิกษุเจริญอริยมรรคและอินทรีย์ มีวิราคะ ๕ เหล่านี้ เป็นไฉน คือ
วิกขัมภนวิราคะ
วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน
ตทังควิราคะ
วิราคะในการละทิฐิด้วยองค์นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิมีส่วนในการทำลายกิเลส (วิราคะด้วยองค์นั้น ๆ คือ วิราคะกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับหรือธรรมที่ตรงข้าม เป็นการวิราคะชั่วคราวในกรณีนั้น ๆ - พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ. ปยุตฺโต))
สมุจเฉทวิราคะ
สมุจเฉทวิราคะของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป (วิราคะด้วยตัดขาด คือ วิราคะกิเลสเสร็จสิ้นเด็ดขาดด้วยโลกุตตรมรรคในขณะแห่งมรรคนั้น ชื่อสมุจเฉทวิราคะ - พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ. ปยุตฺโต))
ปฏิปัสสัทธิวิราคะ
ปฏิปัสสัทธิวิราคะในขณะผล (วิราคะด้วยสงบระงับ คือ อาศัยโลกุตตรมรรควิราคะกิเลสเด็ดขาดไปแล้ว บรรลุโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบระงับไปหมดแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเพื่อวิราคะอีกในขณะแห่งผล - พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ. ปยุตฺโต))
นิสสรณวิราคะ
นิสสรณวิราคะเป็นที่ดับ คือ นิพพาน (วิราคะด้วยสลัดออกได้ หรือวิราคะด้วยปลอดโปร่งไป คือ วิราคะกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ดำรงอยู่ในภาวะที่กิเลสวิราคะแล้วนั้นยั่งยืนตลอดไป ภาวะนั้นชื่อนิสสรณวิราคะ ได้แก่อมตธาตุ คือ นิพพาน - พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ. ปยุตฺโต))
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มีวิราคะ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิราคะ ๕ นี้
(๑๔) วิราคะเป็นมรรคอย่างไร
ในขณะโสดาปัตติมรรค
สัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจากมิจฉาทิฏฐิ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ ย่อมคลายจากมิจฉาสังกัปปะ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด ย่อมคลายจากมิจฉาวาจา จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาวาจานั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งขึ้นด้วยดี ย่อมคลายจากมิจฉากัมมันตะ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉากัมมันตะนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว ย่อมคลายจากมิจฉาอาชีวะ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาอาชีวะนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ ย่อมคลายจากมิจฉาวายามะ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาวายามะนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมคลายจากมิจฉาสติ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาสตินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากมิจฉาสมาธิ จากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธิเป็นต้นนั้น จากขันธ์ และสรรพนิมิตภายนอก
ในขณะสกทาคามิมรรค
สัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวาจานั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งขึ้นด้วยดี ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉากัมมันตะนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาอาชีวะนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวายามะนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสตินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
ในขณะอนาคามิมรรค
สัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวาจานั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งขึ้นด้วยดี ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉากัมมันตะนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาอาชีวะนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวายามะนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสตินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้นจากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
ในขณะอรหัตมรรค
สัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ ย่อมคลายจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด ย่อมคลายจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวาจานั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งขึ้นด้วยดี ย่อมคลายจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉากัมมันตะนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว ย่อมคลายจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาอาชีวะนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ ย่อมคลายจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวายามะนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมคลายจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสตินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก
วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ
วิราคะในคำว่า วิราโคนี้มี ๒ คือ นิพพาน เป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฏฐิเป็นต้นนั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค
องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ (เกิดร่วมกัน) ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ
พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกย่อมไปถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคอันมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศเป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย
อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นวิราคะ
สัมมาทิฐิเป็นวิราคะเพราะความเห็น
สัมมาสังกัปปะเป็นวิราคะเพราะความดำริ
สัมมาวาจาเป็นวิราคะเพราะความกำหนด
สัมมากัมมันตะเป็นวิราคะเพราะความตั้งขึ้นไว้ชอบ
สัมมาอาชีวะเป็นวิราคะเพราะชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว
สัมมาวายามะเป็นวิราคะเพราะประคองไว้
สัมมาสติเป็นวิราคะเพราะตั้งมั่น
สัมมาสมาธิเป็นวิราคะเพราะไม่ฟุ้งซ่าน
มรรคเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ
โพชฌงค์ ๗ เป็นวิราคะ
สติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะตั้งมั่น
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะเลือกเฟ้น
วิริยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะประคองไว้
ปีติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะแผ่ซ่านไป
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความสงบ
สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน
อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความพิจารณาหาทาง
โพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่านำออกไป
พละ ๕ เป็นวิราคะ
สัทธาพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา
วิริยพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน
สติพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความประมาท
สมาธิพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ
ปัญญาพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา
พละเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว
อินทรีย์ ๕ เป็นวิราคะ
สัทธินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความน้อมใจเชื่อ
วิริยินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความประคองไว้
สตินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความตั้งมั่น
สมาธินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน
ปัญญินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความเห็น
อินทรีย์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่
สติปัฏฐานเป็นวิราคะ
สติปัฏฐานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าตั้งมั่น
สัมมัปปธานเป็นวิราคะ
สัมมัปปธานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเริ่มตั้งไว้
อิทธิบาทเป็นวิราคะ
อิทธิบาทเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ
สัจจะเป็นวิราคะ
สัจจะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นของถ่องแท้
สมถะวิปัสสนาเป็นวิราคะ
สมถะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
วิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น
สมถวิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน
ธรรมที่คู่กันเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน
วิสุทธิ ๓ เป็นวิราคะ
สีลวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสำรวม
จิตตวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
ทิฏฐิวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเห็น
วิโมกข์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพ้นวิเศษ
วิชชาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าแทงตลอด
วิมุตติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสละ
ขยญาณเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าตัดขาด
ธรรมที่เป็นวิราคะ
ฉันทะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นมูล
มนสิการเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน
ผัสสะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม
เวทนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุมลง
สติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่
สมาธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นประธาน
ปัญญาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น ๆ
วิมุตติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นสารธรรม
นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด
วิราคะเป็นมรรคอย่างนี้
ปสาทสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ ข้อที่ ๓๔
(๒) คาถาธรรมบท มรรควรรค พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ ข้อที่ ๓๐
มัคคกถา พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๗ ข้อที่ ๑๘๒๖
อันตสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ ข้อที่ ๒๗๗
(๔) ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ ข้อที่ ๑๔
ทุกขสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ ข้อที่ ๒๘๒
(๑๒) กูฏสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ ข้อที่ ๔๐๒