กุณฑลิยสูตร
พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า
พระองค์มีวิชชาและวิมุติเป็นผลานิสงส์
ธรรมที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
- โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติ ให้บริบูรณ์
- สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
- สุจริต ๓ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
- อินทรีย์สังวร อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไม่ยินดี ไม่ขึ้งเคียด ไม่ยังความกำหนัดให้เกิด และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว เมื่อ
- เห็นรูปที่ชอบใจ ด้วยจักษุ
- ฟังเสียงที่ชอบใจ ด้วยหู
- ดมกลิ่นที่ชอบใจ ด้วยจมูก
- ลิ้มรสที่ชอบใจ ด้วยลิ้น
- ถูกต้องโผฏฐัพพะที่ชอบใจ ด้วยกาย
- รู้ธรรมารมณ์ที่ชอบใจ ด้วยใจ
ไม่เก้อ ไม่มีจิตตั้งอยู่ด้วยอำนาจกิเลส ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว เมื่อ
- เห็นรูปที่ไม่ชอบใจ ด้วยจักษุ
- ฟังเสียงที่ไม่ชอบใจ ด้วยหู
- ดมลิ่นที่ไม่ชอบใจ ด้วยจมูก
- ลิ้มรสที่ไม่ชอบใจ ด้วยลิ้น
- ถูกต้องโผฏฐัพพะที่ไม่ชอบใจ ด้วยกาย
- รู้ธรรมารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ด้วยใจ
เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้คงที่ ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท ทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบใจ กายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว
สุจริต ๓ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
- เจริญกายสุจริตเพื่อละกายทุจริต
- เจริญวจีสุจริตเพื่อละวจีทุจริต
- เจริญมโนสุจริตเพื่อละมโนทุจริต
สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา
- เห็นกายในกาย
- เห็นเวทนาในเวทนา
- เห็นจิตในจิต
- เห็นธรรมในธรรม
เนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้
อ่าน กุณฑลิยสูตร