Main navigation

ปัญจกังคสูตร

ว่าด้วย
เวทนา
เหตุการณ์
ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะและท่านพระอุทายีไม่สามารถตกลงกันได้ว่าพระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๒ อย่างหรือ ๓ อย่าง ท่านพระอาทนนท์นำคำสนทนาทั้งหมดกราบทูลต่อพระผู้มีพระภาค

ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะถามท่านพระอุทายีว่า พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้เท่าไร

เมื่อท่านพระอุทายีตอบว่า พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ช่างไม้ปัญจกังคะกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง ตรัสไว้ ๒ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาอันเป็นไปฝ่ายละเอียด พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขอันประณีต

ทั้งสองไม่สามารถทำให้อีกฝ่ายตกลงกันได้ ต่างไม่คล้อยตามเหตุของกันและกัน

เมื่อพระอานนท์กราบทูลการสนทนาทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ทรงล่าวเวทนา ๒ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง
ทรงกล่าวเวทนา ๓ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง
ทรงกล่าวเวทนา ๕ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง
ทรงกล่าวเวทนา ๖ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง
ทรงกล่าวเวทนา ๑๘ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง
ทรงกล่าวเวทนา ๓๖ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง
ทรงกล่าวเวทนา ๑๐๘ ก็มี

เมื่อธรรมอันทรงแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักไม่สำคัญตาม ไม่รู้ตาม ไม่บันเทิงตาม ซึ่งคำที่ทรงกล่าวดีแล้ว เจรจาดีแล้ว แก่กันและกัน ชนเหล่านั้นหวังเหตุนี้ได้ คือ ชนเหล่านั้นจักเกิดความบาดหมางกัน เกิดความทะเลาะกัน วิวาทกัน จักทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปาก

ชนเหล่าใดจักสำคัญตาม จักรู้ตาม จักบันเทิงตาม ซึ่งคำที่ทรงกล่าวดีแล้ว เจรจาดีแล้ว แก่กันและกัน ชนเหล่านั้นพึงหวังเหตุนี้ได้ คือ ชนเหล่านั้นจักพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นดุจน้ำเจือด้วยน้ำนม มองกันและกันด้วยจักษุอันเปี่ยมด้วยความรักอยู่

กามสุข

กามคุณ ๕ เหล่านี้ คือ

รูปที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ
เสียงที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยหู
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยจมูก
รสที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยลิ้น
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย

อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ เรียกว่ากามสุข

ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ ทรงไม่ยอมตามคำนี้ เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่

สุขในปฐมฌาน

ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่นเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่  นี้เป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่ากามสุข

ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ ทรงไม่ยอมตามคำนี้ เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่

สุขในทุติยฌาน

ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่นเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารระงับไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขในปฐมฌาน

ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ ทรงไม่ยอมตามคำนี้ เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่

สุขในตติยฌาน

ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่นเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไปเข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข นี้เป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขในทุติยฌาน

ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ ทรงไม่ยอมตามคำนี้ เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่

สุขในจตุตถฌาน

ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่นเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขในตติยฌาน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไปเข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข นี้เป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขในทุติยฌาน

ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ ทรงไม่ยอมตามคำนี้ เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่

สุขในอากาสานัญจายตนฌาน

ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่นเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าอากาสานัญจายตนฌานโดยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาทั้งหลาย เพราะความดับสูญแห่งปฏิฆสัญญาทั้งหลาย เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญาทั้งหลาย โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้เป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขในจตุตถฌาน

ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ ทรงไม่ยอมตามคำนี้ เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่

สุขในวิญญาณัญจายตนฌาน

ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่นเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าวิญญาณัญจายตนฌานโดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด นี้เป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขในอากาสานัญจายตนฌาน

ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ ทรงไม่ยอมตามคำนี้ เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่

สุขในอากิญจัญญายตนฌาน

ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่นเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนฌานโดยบริกรรมว่า อะไรหน่อยหนึ่งไม่มี นี้เป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขในวิญญาณัญจายตนฌาน

ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ ทรงไม่ยอมตามคำนี้ เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่

สุขในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่นเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขในอากิญจัญญายตนฌาน

ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ ทรงไม่ยอมตามคำนี้ เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่

สุขในสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่นเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

ก็ข้อที่ปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมกล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ และย่อมบัญญัตินิโรธนั้นไว้ในความสุข ข้อนี้นั้นเพราะเหตุไร ข้อนี้นั้นเป็นอย่างไร นั้นเป็นฐานะที่จะมีได้

พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์มีวาทะอย่างนี้ พวกเธอพึงค้านอย่างนี้ว่า

พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงหมายเอาสุขเวทนาบัญญัตินิโรธนั้นไว้ในความสุขเลย

บุคคลย่อมได้สุขในฐานะใด ๆ พระตถาคตย่อมทรงบัญญัติฐานะนั้น ๆ อันเป็นสุข ไว้ในความสุขทุกแห่ง

 

 

อ่าน ปัญจกังคสูตร

 

อ้างอิง
ปัญจกังคสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ ข้อที่ ๔๐๙-๔๒๔
ลำดับที่
19

สถานที่

ไม่ระบุ

สถานการณ์

การตอบปัญหาธรรม

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม