Main navigation

กายคตาสติสูตร

ว่าด้วย
สติกำหนดพิจารณากาย
เหตุการณ์
พระพุทธองค์แสดงธรรมแก่ภิกษุในเรื่องการเจริญกายคตาสติ

กายคตาสติวิธีต่างๆ ที่อันเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก 

- เจริญอานาปานัสสติ

- เจริญสติสัมปัญชัญญะในการเดิน ยืน นั่ง นอน และในอิริยาบทต่างๆ

- พิจารณาอวัยวะและสิ่งต่างๆ ภายในกายว่าเป็นของไม่สะอาด (ปฏิกูล)

- พิจารณากายโดยความเป็นธาตุ

- พิจารณากายโดยความเป็นอสุภ

- ยังกายให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก (ปฐมฌาณ)

- ยังกายให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ (ทุติยฌาณ)

- ยังกายนี้ให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ (ตติยฌาณ)

- มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา เอาใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องแผ่ไปทั่วกาย (จตุตฌาณ)

เมื่อไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ย่อมละความดำริพล่านได้ เพราะละความดำริพล่านได้ จิตย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ

การเจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ชื่อว่าเจริญและทำให้มากซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชาอย่างใดอย่างหนึ่ง อันรวมอยู่ในภายใน

เมื่อไม่เจริญ ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์

เมื่อเจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมถึงธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยความรู้ยิ่งอันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไปได้ โดยมีสติเป็นเหตุ

อานิสงส์ ๑๐ ประการของการเจริญกายคตาสติเนืองๆ จนเป็นที่ตั้งมั่น คือ

(๑) อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดีครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย

(๒) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัวครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย

(๓) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน ความหิวความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ สัตว์เสือกคลาน ต่อทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้

(๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในมหัคคตจิตเครื่องอยู่สบายในปัจจุบันตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก

(๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ

(๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์

(๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ

(๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ

(๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

(๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่


อ่าน กายคตาสติสูตร

อ้างอิง
กายคตาสติสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่ม ๑๔ ข้อที่ ๒๙๒-๓๑๗ หน้า ๑๖๑-๓๑๗
ลำดับที่
8

สถานที่

วิหารเชตวัน

สถานการณ์

การปฏิบัติธรรม

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม