Main navigation

จูฬราหุโลวาทสูตร

ว่าด้วย
กรรม ๓
เหตุการณ์
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์ ท่านพระราหุลอยู่ ณ ปราสาทชื่อว่าอัมพลัฏฐิกา ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นอยู่แล้วเสด็จเข้าไปยังอัมพลัฏฐิกาปราสาทที่ท่านพระราหุลอยู่

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่พระราหุลในเรื่อง มุสา และกรรม ๓

การมุสา พระพุทธองค์ตรัสว่า

สมณธรรมของผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่ เป็นเสมือนของที่เขาทิ้งเสีย คว่ำเสียแล้ว เป็นของว่างเปล่า

บุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาที่ไม่เคยทำบาปกรรม ไม่มี

บุคคลไม่ควรกล่าวมุสา แม้จะเป็นการกล่าวเล่นกัน

กรรม ๓ พระพุทธองค์ตรัสว่า

ก่อน จะทำกรรมใด ๆ พิจารณาก่อนว่ากรรมนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล หากเป็นกุศลให้ทำ หากเป็นอกุศล อย่าทำ

หาก กำลัง ทำกรรมใดอยู่ พิจารณาว่ากรรมที่ทำอยู่นั้นเป็นกุลศลหรืออกุศล หากเป็นกุศลให้ทำให้มากขึ้น หากเป็นอกุศล ให้เลิกทำ

หาก เคย ทำกรรมใดไป พิจารณาว่ากรรมที่ทำไปนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล หากเป็นกุศลให้ปิติและยินดีในกรรมนั้น และอยู่ด้วยกรรมนั้น หากเป็นอกุศล ให้บอกแก่กัลยาณมิตรและพึงสำรวมต่อไป

         กุศลกรรม  กรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก

         อกุศลกรรม กรรมที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก

บุคคลพึงชำระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ได้ด้วยการพิจารณา

 


อ่าน จูฬราหุโลวาทสูตร

 

 

อ้างอิง
จูฬราหุโลวาทสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ ข้อที่ ๑๒๕-๑๓๒ หน้า ๑๐๔-๑๑๐
ชุดที่
ลำดับที่
8

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม