วิตักกสัณฐานสูตร
พระพุทธเจ้าตรัสกับภิกษุทั้งหลายถึงการหมั่นประกอบอธิจิต ควรมนสิการถึงนิมิต ๕ ประการ ตามเวลาอันสมควร
เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง เกิดขึ้น การละวิตกอันเป็นบาปอกุศลมี ๕ ประการ
1. ให้มนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล - เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
2. พิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้น - เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
3. ถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น - เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
4. มนสิการสัณฐานแห่งวิตก สังขารของวิตกเหล่านั้น - เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้น
5. กัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ - เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้น
ภิกษุเป็นผู้ชำนาญในทางเดินของวิตก เมื่อจะนึกถึงวิตกใด ก็ตรึกวิตกนั้นได้ จะไม่นึกถึงวิตกใด ก็ไม่ตรึกวิตกนั้นได้ ตัดตัณหาได้ คลี่คลายสังโยชน์ได้ ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ
อ่าน วิตักกสัณฐานสูตร
พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม
ธรรมปฏิบัติ
พระธรรม
วิเวก
พระธรรม
ธรรมวิภังค์
พระธรรม
เวทัลลธรรม
พระธรรม
ความไม่ประมาท
พระธรรม
อานุภาพกรรม
พระธรรม
สุคติ สุคโต
พระธรรม
ครอบครัวโดยธรรม