Main navigation

ภิกขุนีสูตร

ว่าด้วย
ผู้มีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๔ ย่อมรู้คุณวิเศษ
เหตุการณ์
ภิกษุณีสนทนากับพระอานนท์ว่า ภิกษุณีมีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษในกาลก่อน

ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งมีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ พึงหวังได้ว่า จักรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษในกาลก่อน
 
สติปัฏฐาน ๔
 
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ เห็นจิตในจิตอยู่ เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
 
เมื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ เห็นจิตในจิตอยู่ เห็นธรรมในธรรมอยู่ ความเร่าร้อนมีกาย เวทนา จิต ธรรม เป็นอารมณ์เกิดขึ้นในกายก็ดี ความหดหู่แห่งจิตเกิดขึ้นก็ดี จิตฟุ้งซ่านไปในภายนอกก็ดี ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ให้มั่นในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง

ภาวนาย่อมมีเพราะตั้งจิตไว้

เมื่อตั้งจิตไว้มั่นในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมระงับ มีกายระงับแล้ว ย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

ย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราตั้งจิตไว้เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นสำเร็จแก่เราแล้ว บัดนี้เราจะคุมจิตไว้ เมื่อคุมจิตไว้ และไม่ตรึก ไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่า ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีสติในภายใน เป็นผู้มีความสุข ดังนี้

ภาวนาย่อมมีเพราะตั้งจิตไว้ด้วยประการดังนี้

ภาวนาย่อมมีเพราะมิได้ตั้งจิตไว้ภายนอก
 
ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า จิตมิได้ตั้งไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า จิตไม่ได้ฟุ้งซ่านไปข้างหลังและข้างหน้า พ้นแล้ว มิได้ตั้งอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ เห็นจิตในจิตอยู่ เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ เป็นผู้มีความสุข ดังนี้

ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอกดัวยประการดังนี้
 


อ่าน ภิกขุนีสูตร

อ้างอิง
ภิกขุนีสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ ข้อที่ ๗๑๔-๗๒๓ หน้า ๑๗๒-๑๗๕
ลำดับที่
13

สถานการณ์

การปฏิบัติธรรม

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม