เวสาลีสูตร
ภิกษุเหล่านั้นคิดอยู่ว่าพระผู้มีพระภาคตรัสอสุภกถา ตรัสสรรเสริญคุณแห่งอสุภะ จึงขวนขวายการเจริญอสุภอันเกลื่อนกล่นด้วยอาการเป็นอเนกอยู่ เกิดอึดอัด ระอา เกลียดกายนี้ แสวงหาอาวุธสำหรับปลงชีวิต สิบรูปบ้าง ยี่สิบรูปบ้าง สามสิบรูปบ้าง
เมื่อพระผู้มีพระภาคออกจากการหลีกเร้น ได้ตรัสถามพระอานนท์ว่าเพราะเหตุไรภิกษุจึงดูเหมือนเบาบางลงไป
พระอานนท์กราบทูลเรื่องทั้งหมด แล้วทูลขอพระผู้มีพระภาคให้ตรัสบอกปริยาย โดยวิธีที่ภิกษุสงฆ์จะพึงดำรงอยู่ในอรหัตตผล
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นสภาพสงบ ประณีต ชื่นใจ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และยังอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธาน สงบไปโดยพลัน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ หายใจออก มีสติ หายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวง หายใจออก
เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวง หายใจเข้า
เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจออก
เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจเข้า
เราจักรู้แจ้งปีติ หายใจออก
เราจักรู้แจ้งปีติ หายใจเข้า
เราจักรู้แจ้งสุข หายใจออก
เราจักรู้แจ้งสุข หายใจเข้า
เราจักรู้แจ้งจิตสังขาร หายใจออก
ราจักรู้แจ้งจิตสังขาร หายใจเข้า
เราจักเป็นผู้ระงับจิตสังขาร หายใจออก
เราจักเป็นผู้ระงับจิตสังขาร หายใจเข้า
เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิต หายใจออก
เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิต หายใจเข้า
เราจักทำจิตให้บันเทิง หายใจออก
เราจักทำจิตให้บันเทิง หายใจเข้า
เราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก
เราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
เราจักเปลื้องจิต หายใจออก
เราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก
เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจเข้า
เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด หายใจออก
เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด หายใจเข้า
เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับ หายใจออก
เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับ หายใจเข้า
เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก
เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า
อ่าน เวสาลีสูตร