(๑) ทิฏฐิมีหลายประการ ประกอบด้วยการกล่าวเรื่องอัตตาบ้าง เรื่องโลกบ้าง
(๒) ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งธรรมเหล่านี้ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
- ขันธ์ ๕ : รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
- อายตนะภายใน ๖ : ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
- อายตนะภายนอก ๖ : รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
- วิญญาณ ๖ : จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
- ผัสสะ ๖ : จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส
- เวทนา ๖ : จักษุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา
- สัญญา ๖ : รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา
- สัญเจตนา ๖ : รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา
- ตัณหา ๖ : รูปตัณหา รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา
- วิตก ๖ : รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก
- วิจาร ๖ : รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจารโผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร
- ธาตุ ๖ : ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ
- กสิณ ๑๐ : ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ อากาสกสิณ วิญญาณกสิณ
- อาการ ๓๒ : ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ฯลฯ น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร สมองศีรษะ
- อายตนะ ๑๒ : จักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธรรมายตนะ
- ธาตุ ๑๘ : จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ
- อินทรีย์ ๑๕ : จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
- ธาตุ ๓ : กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ
- ภพ ๘ : กามภพ รูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ
- ฌาณ ๔ : ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
- วิมุติ ๔ : เมตตาเจโตวิมุติ กรุณาเจโตวิมุติ มุทิตาเจโตวิมุติ อุเปกขาเจโตวิมุติ
-สมาบัติ ๔ : อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
- ปจยาการ ๑๒ : อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชราและมรณะ
ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งธรรมเหล่านี้ว่า ของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา ดังนี้
(๓) ทิฏฐิทั้งหลาย เป็นความเห็นที่รกชัฏ เป็นความเห็นอย่างกันดาร เป็นความเห็นที่เป็นเสี้ยนหนาม เป็นความเห็นที่กวัดแกว่ง เป็นความเห็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ เป็นไปกับด้วยทุกข์ เป็นไปกับด้วยความลำบาก เป็นไปกับด้วยความคับแค้น เป็นไปกับด้วยความเร่าร้อน
ทิฏฐิทั้งหลาย ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
เพราะเห็นโทษ จึงไม่เข้าถึงทิฏฐิเหล่านี้โดยประการทั้งปวง
(๔) ทิฏฐิที่ทำให้ติดอยู่
มนุษย์และเทวดาบางพวกติดอยู่เพราะยินดีแล้วในภพ เพลิดเพลินด้วยดีในภพ เมื่อพระตถาคตแสดงธรรมเพื่อความดับภพ จิตของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ดำรงอยู่ด้วยดี ย่อมไม่น้อมไป
ทิฏฐิที่ทำให้แล่นเลยไป
เทวดาและมนุษย์บางพวกแล่นเลยไป เพราะอึดอัด ระอาเกลียดชังอยู่ด้วยภพ ย่อมเพลิดเพลินความขาดสูญว่า เมื่อใดตนนี้เมื่อตายไป ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศเบื้องหน้าแต่ตายย่อมไม่เกิดอีก
ภิกษุผู้มีจักษุในธรรมวินัยนี้ไม่พัวพันกับทิฏฐิทั้ง ๒ ย่อมเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง ครั้นเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว
อริยสาวกใดเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว และธรรมเป็นเครื่องก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง ย่อมน้อมไปในนิพพานตามความเป็นจริง เพราะภวตัณหาหมดสิ้นไป ถ้าว่าอริยสาวกนั้นกำหนดรู้ขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว ปราศจากตัณหา ในภพน้อยและภพใหญ่แล้วไซร้ ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะความไม่เกิดแห่งอัตภาพที่เกิดแล้ว
การละทิฏฐิ
(๑) ทิฏฐิเหล่านั้นเกิดขึ้นในอารมณ์ใด นอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ใด และท่องเที่ยวอยู่ในอารมณ์ใด เมื่อพิจารณาเห็นอารมณ์นั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นมิใช่ของเรา เรามิใช่นั่น นั่นมิใช่ตัวตนของเรา
การละทิฏฐิเหล่านั้น การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยอุบายอย่างนี้.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย.
ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก
(๕) ทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน
ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี บิดาไม่มี มารดาไม่มี สัตว์ที่จุติและอุปบัติไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไม่มีในโลก สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ
(๒) ทิฏฐิกถา ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๑ ข้อที่ ๒๙๕-๓๐๓ หน้า
(๕) ธรรมสังคณีปกรณ์ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๔ ข้อที่ ๘๗๐ หน้า ๒๙๙