วุฏฐิสูตร
พระสารีบุตรบันลือสีหนาทว่า กายคตาสติอันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้ ไม่ขอโทษแล้ว พึงหลีกจาริกไปเป็นแน่ จิตของท่านนั้นเหมือนแผ่นดิน น้ำ ไฟ ลม ผ้าขี้ริ้ว ที่รับสิ่งทั้งที่สะอาดและไม่สะอาด แต่ก็ไม่ได้มีใจอึดอัด เกลียดชังสิ่งเหล่านั้น เหมือนลูกของคนจัณฑาลที่ตั้งจิตนอบน้อมอยู่ตลอดเวลา เหมือนโคเขาหักที่สงบเสงี่ยม ไปไหนก็ไม่เอาเท้าหรือเขาไปกระทบอะไร
มีใจเสมอด้วยแผ่นดิน แผ่นน้ำ ไฟ ลม ลูกของคนจัณฑทาล อันไพบูลย์ กว้างใหญ่ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พระสารีบุตรอึดอัด ระอา และเกลียดชังกายอันเปื่อยเน่านี้ และบริหารกายที่มีรูทะลุเป็นช่องเล็ก ช่องใหญ่
ภิกษุที่กล่าวหาพระสารีบุตรขอโทษและกล่าวต่อพระพุทธเจ้าว่า ตนได้กล่าวตู่สารีบุตรด้วยคำอันไม่มี เปล่า เท็จ ไม่เป็นจริง ขอให้พระผู้มีพระภาครับโทษโดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไป พระผู้มีพระภาคเห็นว่าภิกษุนั้นเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืนตามธรรม พระองค์รับโทษของภิกษุนั้น
เมื่อภิกษุเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยเจ้า
แล้วแก่พระสารีบุตรให้อดโทษต่อภิกษุผู้นี้ เพราะมิฉะนั้นโทษนั้นจะทำให้ ศีรษะของภิกษุนั้นแตกเป็น ๗ เสี่ยง พระสารีบุตรอดโทษต่อผู้ภิกษุนั้นและขอให้ภิกษุนั้นอดโทษต่อพระสารีบุตรด้วยหากโทษของตนนั้นมีอยู่
พระสารีบุตรไม่มีความโกรธ หรือความประทุษร้ายแม้เพียงน้อยนิดในภิกษุผู้กล่าวตู่ตนด้วยคำโกหก แต่ยังประคองอัญชลีให้ภิกษุนั้นอดโทษแก่ตน
พระผู้มีพระภาคสรรเสริญพระสารีบุตรว่าไม่ว่าใครก็ไม่อาจทำให้ความโกรธหรือความประทุษร้าย เกิดขึ้นกับภิกษุเช่นพระสารีบุตรได้ จิตของสารีบุตรนั้นเปรียบได้เช่นแผ่นดินใหญ่ เช่นกับเสาเขื่อนและเช่นกับห้วงน้ำใสที่ไม่มีเปลือกตม ที่คงที่ มีวัตรดี ไม่ยินดี ยินร้าย ไม่เป็นผู้ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ๘
เพราะไม่ว่าชนทั้งหลายทิ้งของสะอาดหรือไม่สะอาด แผ่นดินหรือเสาเขื่อนนั้นก็ไม่ยินดียินร้าย ภิกษุขึ้นชื่อว่าเป็นผู้คงที่ ชื่อว่าผู้มีวัตรดี เพราะเมื่อชนทั้งหลายทำสักการะและอสักการะก็ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายว่า ชนเหล่านี้สักการะเราด้วยปัจจัย ๔ แต่ชนเหล่านี้ไม่สักการะ
เมื่อพระผู้มีพระภาคแสดงธรรมเสร็จ ภิกษุ ๙ พันรูปบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา
อ่าน วุฏฐิสูตร