Main navigation

สีลสูตร

ว่าด้วย
ธรรมที่ควรใส่ใจโดยแยบคาย
เหตุการณ์
ท่านพระมหาโกฏฐิตะได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ภิกษุควรกระทำธรรมข้อไหนไว้ในใจโดยแยบคาย

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า

ภิกษุควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน

อุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูป ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ สังขาร ๑ วิญญาณ ๑

ภิกษุผู้มีศีล กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ไว้ในใจโดยแยบคาย พึงทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ไว้ในใจโดยแยบคาย  พึงทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล

ภิกษุผู้เป็นพระสกทาคามี กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ไว้ในใจโดยแยบคาย พึงทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล

ภิกษุผู้เป็นอนาคามี กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ไว้ในใจโดยแยบคาย พึงทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล.

ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ไว้ในใจ ธรรมเหล่านี้ที่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ก็เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ

 

 

อ่าน สีลสูตร

 

อ้างอิง
สีลสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ ข้อที่ ๓๑๐-๓๑๔ หน้า ๑๖๐-๑๖๒
ลำดับที่
21

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ