Main navigation

จูฬราหุโลวาทสูตร

ว่าด้วย
การประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรเล็ก
เหตุการณ์
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์ ท่านพระราหุลอยู่ ณ ปราสาทชื่อว่าอัมพลัฏฐิกา ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นอยู่แล้วเสด็จเข้าไปยังอัมพลัฏฐิกาปราสาทที่ท่านพระราหุลอยู่

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่พระราหุลในเรื่องมุสา และกรรม ๓

การมุสา พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

-  สมณธรรมของผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่ เป็นเสมือนของที่เขาทิ้งเสีย คว่ำเสียแล้ว เป็นของว่างเปล่า

-  บุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาที่ไม่เคยทำบาปกรรม ไม่มี

-  บุคคลไม่ควรกล่าวมุสา แม้จะเป็นการกล่าวเล่นกัน

กรรม ๓ พระพุทธองค์ตรัสว่า

-  ก่อนจะทำกรรมใดๆ ให้พิจารณาก่อนว่ากรรมนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล  หากเป็นกุศลให้ทำ หากเป็นอกุศล อย่าทำ

-  หากกำลังทำกรรมใดอยู่ ให้พิจารณาว่ากรรมที่ทำอยู่นั้นเป็นกุศลหรืออกุศล หากเป็นกุศลให้ทำให้มากขึ้น  หากเป็นอกุศล ให้เลิกทำ

-  หากเคยทำกรรมใดไป ให้พิจารณาว่ากรรมที่ทำไปนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล  หากเป็นกุศลให้ปิติและยินดีในกรรมนั้น และอยู่ด้วยกรรมนั้น  หากเป็นอกุศล ให้บอกแก่กัลยาณมิตรและพึงสำรวมต่อไป

กุศลกรรม  กรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก

อกุศลกรรม กรรมที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก

-  บุคคลพึงชำระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ได้ด้วยการพิจารณา

 

 


อ่าน จูฬราหุโลวาทสูตร

 

อ้างอิง
จูฬราหุโลวาทสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ ข้อที่ ๑๒๕-๑๓๒ หน้า ๑๐๔-๑๑๐
ลำดับที่
3

สถานการณ์

การปฏิบัติธรรม

พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระธรรม

ธรรมปฏิบัติ

พระธรรม

วิเวก

พระธรรม

ธรรมวิภังค์

พระธรรม

เวทัลลธรรม

พระธรรม

อานุภาพกรรม

พระธรรม

สุคติ สุคโต

พระธรรม

ฆราวาสธรรม