เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
ธรรมที่ควรเสพ
เมื่อเสพธรรมใด อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น ธรรมนั้นควรเสพ
ธรรมที่ไม่ควรเสพ
เมื่อเสพธรรมใด กุศลธรรมเสื่อมไป อกุศลธรรมเจริญขึ้น ธรรมนั้นไม่ควรเสพ
ความประพฤติทางกาย ๒ ส่วน คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑
เมื่อเสพความประพฤติทางกายมีรูปอย่างนี้ คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นผู้มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ เป็นผู้มักประพฤติผิดในกาม อกุศลธรรมเจริญยิ่ง กุศลธรรมเสื่อมไป ความประพฤติทางกายนี้ไม่ควรเสพ
เมื่อเสพความประพฤติทางกายมีรูปอย่างนี้ คือ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน เป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ความประพฤติทางกายนี้ควรเสพ
ความประพฤติทางวาจา ๒ ส่วน คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑
เมื่อเสพความประพฤติทางวาจามีรูปอย่างนี้ คือ เป็นผู้มักพูดเท็จ พูดส่อเสียด กล่าวคำหยาบ เป็นผู้เจรจาเพ้อเจ้อ อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ความประพฤติทางวาจานี้ไม่ควรเสพ
เมื่อเสพความประพฤติทางวาจามีรูปอย่างนี้ คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะละมุสาวาท จึงเป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท ไม่เป็นผู้พูดเท็จ เพราะละวาจาส่อเสียด จึงเป็นผู้เว้นขาดจากวาจาส่อเสียด เพราะละวาจาหยาบ จึงเป็นผู้เว้นขาดจากวาจาหยาบ อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ความประพฤติทางวาจานี้ควรเสพ
ความประพฤติทางใจ ๒ ส่วน คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑
เมื่อเสพความประพฤติทางใจมีรูปอย่างนี้ คือ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมเสื่อมไป ความประพฤติทางใจนี้ไม่ควรเสพ
เมื่อเสพความประพฤติทางใจมีรูปอย่างนี้ คือ เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌามีจิตไม่พยาบาท อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่ง ความประพฤติทางใจนี้ควรเสพ
ความเกิดขึ้นแห่งจิต ๒ ส่วน คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑
เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตมีรูปอย่างนี้ คือ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีใจสหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้มีพยาบาท มีใจสหรคตด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้มีความเบียดเบียน มีใจสหรคตด้วยความเบียดเบียนอยู่ อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมเสื่อมไป ความเกิดขึ้นแห่งจิตนี้ไม่ควรเสพ
เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตมีรูปอย่างนี้ คือ เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา มีใจไม่สหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ไม่มีพยาบาท มีใจไม่สหรคตด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้ไม่มีความเบียดเบียน มีใจไม่สหรคตด้วยความเบียดเบียนอยู่ อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ความเกิดขึ้นแห่งจิตนี้ควรเสพ
ความได้สัญญา ๒ ส่วน คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑
เมื่อเสพความได้สัญญามีรูปอย่างนี้ คือ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีสัญญาสหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้มีพยาบาท มีสัญญาสหรคตด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้มีความเบียดเบียน มีสัญญาสหรคตด้วยความเบียดเบียนอยู่ อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ความได้สัญญานี้ไม่ควรเสพ
เมื่อเสพความได้สัญญามีรูปอย่างนี้ คือ เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา มีสัญญาไม่สหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ไม่มีพยาบาท มีสัญญาไม่สหรคตด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้ไม่มีความเบียดเบียน มีสัญญาไม่สหรคตด้วยความเบียดเบียนอยู่ อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ความได้สัญญานี้ควรเสพ
ความได้ทิฐิ ๒ ส่วน คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑
เมื่อเสพความได้ทิฐิมีรูปอย่างนี้ คือ เป็นผู้มีความเห็นว่าทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มีสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ความได้ทิฐินี้ไม่ควรเสพ
เมื่อเสพความได้ทิฐิมีรูปอย่างนี้ คือ เป็นผู้มีความเห็นว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในโลกมีอยู่ อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ความได้ทิฐินี้ควรเสพ
ความได้อัตภาพ ๒ ส่วน คือที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑
บุคคลที่เกิดมาครองการได้อัตภาพอย่างบกพร่อง เป็นผู้ไม่สมประกอบเป็นเหตุ อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ความได้อัตภาพนี้ไม่ควรเสพ
บุคคลที่เกิดมาครองการได้อัตภาพอย่างไม่บกพร่อง เป็นผู้สมประกอบเป็นเหตุ อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ความได้อัตภาพนี้ควรเสพ
รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน ๒ ส่วน คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑
เมื่อเสพรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโนเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโนเช่นนี้ ไม่ควรเสพ
เมื่อเสพรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน เช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโนเช่นนี้ ควรเสพ
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ บ้านนิคม นคร ชนบท บุคคล ๒ ส่วน คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑
เมื่อเสพจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ บ้านนิคม นคร ชนบท บุคคลใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ บ้านนิคม นคร ชนบท บุคคล เช่นนี้ไม่ควรเสพ
เมื่อเสพจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ บ้านนิคม นคร ชนบท บุคคลใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ บ้านนิคม นคร ชนบท บุคคล เช่นนี้ควรเสพ
ถ้ากษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทรทั้งปวง รู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมบรรยายที่พระผู้มีพระภาคกล่าวโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่กษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทร ทั้งปวงตลอดกาลนาน