กิจของตน
หญิงแม่เรือนคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี ปฏิบัติอาชีวกชื่อปาฏิกะ เหมือนดังลูก นางได้ยินคนในเรือนใกล้เคียงไปฟังธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มาพรรณนาสรรเสริญพระพุทธคุณโดยประการต่าง ๆ นางอยากไปฟังธรรมจึงไปบอกแก่อาชีวก แต่อาชีวกนั้นห้ามไม่ให้นางไป นางจึงให้บุตรชายไปนิมนต์พระศาสดามาเพื่อเสวยภัตตาหารที่บ้าน ในวันพรุ่งนี้
บุตรชายนั้นก่อนจะไปได้เข้าไปหาอาชีวกก่อน แล้วได้ถูกอาชีวกนั้นห้าม แต่บุตรชายยืนยันต้องไป อาชีวกชื่อปาฏิกะจึงบอกให้ไปแต่ ไปถึงแล้วให้นิมนต์แต่ไม่ต้องบอกเส้นทาง แล้วให้หนีมา บุตรชายก็ทำตามคำของอาชีวก
ในวันรุ่งขึ้น อาชีวกได้ไปสู่เรือนนั้นแต่เช้าตรู่เพื่อจะไปกินเครื่องสักการะ พวกคนในบ้านพาอาชีวกให้ไปนั่งที่ห้องด้านหลัง
อนึ่ง ชื่อว่ากิจเนื่องด้วยผู้แสดงทางย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะหนทางทั้งหมดแจ่มแจ้งแก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้วว่า ทางนี้ไปนรก ทางนี้ไปกำเนิดดิรัจฉาน ทางนี้ไปเปตวิสัย ทางนี้ไปมนุษยโลก ทางนี้ไปเทวโลก ทางนี้ไปอมตนิพพาน ในวันที่ทรงยังหมื่นแห่งโลกธาตุให้หวั่นไหว แล้วบรรลุสัมโพธิที่โคนต้นโพธิ์
เพราะฉะนั้น พระศาสดาทรงถือบาตรและจีวรแล้ว จึงเสด็จไปสู่ประตูเรือนของอุบาสิกาแต่เช้าตรู่ นางอัญเชิญให้เสด็จเข้าไปภายในเรือน แล้วถวายทักษิโณทก อังคาสด้วยขาทนียะและโภชนียะอันประณีต อุบาสิกาประสงค์จะให้พระศาสดาผู้ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว ทรงกระทำอนุโมทนา จึงรับบาตร
พระศาสดาทรงเริ่มธรรมกถาสำหรับอนุโมทนา อุบาสิกาฟังธรรมพลางให้สาธุการว่า “สาธุ สาธุ” อาชีวกนั่งอยู่ห้องด้านหลังได้ยินเสียงนางให้สาธุการแล้ว ไม่อาจจะอดทนอยู่ได้ จึงออกไป แล้วด่าอุบาสิกาและพระศาสดาโดยประการต่าง ๆ แล้วก็หลีกไป
อุบาสิกาละอายเพราะถ้อยคำของอาชีวกนั้น มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่อาจจะส่งจิตไปตามกระแสแห่งเทศนาได้ พระศาสดาตรัสกับนางว่า
ไม่ควรระลึกถึงถ้อยคำที่ชนผู้ไม่เสมอภาคกันกล่าว การไม่คำนึงถึงถ้อยคำเห็นปานนี้แล้ว ตรวจดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของตนเท่านั้น จึงควร
ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
บุคคลไม่ควรทำคำแสยงขนของคนเหล่าอื่นไว้ในใจ ไม่ควรแลดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของคนเหล่าอื่น พึงพิจารณากิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของตนเท่านั้น
ในกาลจบเทศนา อุบาสิกาดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล
อ่าน ปาฏิกาชีวก
อ่าน คาถาธรรมบท ปุปผวรรค
พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระสงฆ์
อานนทธรรม
พระสงฆ์
ธรรมอันลึกซึ้ง
พระสงฆ์
ฤทธิธรรม
พระสงฆ์
ธรรมปัญญา
พระสงฆ์
มหาบุรุษ - มหาสตรี
พระสงฆ์
มหาเถรธรรม
พระสงฆ์
อารยธรรมบท