ชัมพุขาทกสังยุตต์
พระสารีบุตรตอบว่า
นิพพาน คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ
อรหัต คือ ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ ธรรมเป็นที่สิ้นโทสะ ธรรมเป็นที่สิ้นโมหะ
ผู้ใดแสดงธรรมเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ ผู้นั้นเป็นธรรมวาทีในโลก
ผู้ใดปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ ผู้นั้นเป็นผู้ปฏิบัติดีในโลก
ผู้ใดละราคะ โทสะ โมหะ ได้แล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ไปดีแล้วในโลก
ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนดรู้ทุกข์
บุคคลถึงความความโล่งใจเมื่อบุคคลรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง
บุคคลถึงความโล่งใจอย่างยิ่งเมื่อบุคคลรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ เป็นผู้หลุดพ้น เพราะไม่ถือมั่น
เวทนา คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
อาสวะ ๓ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ
อวิชชาคือ ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ ในปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับทุกข์
ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
โอฆะ ๔ ประการคือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ
อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน
ภพ ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
สภาพทุกข์ ๓ ประการ คือทุกข์ คือสังขาร คือความแปรปรวน
สักกายะคือ อุปาทานขันธ์ ๕
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ตั้งสติชอบ ตั้งใจชอบ เป็นมรรค เป็นปฏิปทาเพื่อ
กระทำนิพพานให้แจ้ง
กระทำอรหัตให้แจ้ง
เพื่อละราคะ โทสะ โมหะ
เพื่อกำหนดรู้ทุกข์
เพื่อกระทำความโล่งใจให้แจ้ง
เพื่อกระทำความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นให้แจ้ง
เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ อย่าง
เพื่อละอาสวะ
เพื่อละอวิชชา
เพื่อละตัณหา
เพื่อละโอฆะ
เพื่อละอุปาทาน
เพื่อกำหนดรู้ภพ
เพื่อกำหนดรู้สภาพทุกข์
เพื่อกำหนดรู้สักกายะ
อะไรที่ทำได้ยาก
การบวช กระทำได้ยาก
เมื่อบวชแล้ว ความยินดียิ่งกระทำได้ยาก
เมื่อยินดียิ่งแล้ว การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมกระทำได้ยาก
เมื่อปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว จะพึงเป็นพระอรหันต์ได้ไม่นานนัก
อ่าน ชัมพุขาทกสังยุตต์
พระไตรปิฎกเสียงชุดอื่นๆ

พระสงฆ์
อานนทธรรม
พระสงฆ์
ธรรมอันลึกซึ้ง
พระสงฆ์
ฤทธิธรรม
พระสงฆ์
ธรรมปัญญา
พระสงฆ์
มหาบุรุษ - มหาสตรี
พระสงฆ์
มหาเถรธรรม
พระสงฆ์
อารยธรรมบท