Main navigation
ก้าวลงสู่ครรภ์
Share:

(๑) การก้าวลงสู่ครรภ์ ๔ เหล่านี้ คือ

ไม่รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา

รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดาอย่างเดียว แต่ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา

รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา แต่ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา

รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา

(๒) การอยู่ในครรภ์ เป็นชื่อของกาม

เพราะบุคคลนี้ยินดีในกามราคะ พัวพันในฉันทราคะ ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากการอยู่ในครรภ์ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในภายหน้า ฉะนั้น คำว่า การอยู่ในครรภ์ จึงเป็นชื่อของกาม

(๓) เหตุแห่งการเกิดในครรภ์

เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการ ความเกิดแห่งทารกก็มี

ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน แต่มารดายังไม่มีระดู และทารกที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก ก็ยังไม่มีก่อน

ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน มารดามีระดู แต่ทารกที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก ก็ยังไม่มีก่อน

เมื่อใดมารดาบิดาอยู่ร่วมกันด้วย มารดามีระดูด้วย ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้ ความเกิดแห่งทารกจึงมี

(๔) การเกิดขึ้นย่อมมีแก่คนที่ยังมีอุปาทาน

เราย่อมบัญญัติความเกิดขึ้นแก่คนที่ยังมีอุปาทานเท่านั้น หาบัญญัติแก่คนที่หาอุปาทานมิได้ไม่ ดูกรวัจฉะ ไฟมีเชื้อจึงลุกโพลง ไม่มีเชื้อหาลุกโพลงไม่ แม้ฉันใด เราก็ย่อมบัญญัติความเกิดขึ้นแก่คนที่ยังมีอุปาทาน
หาบัญญัติแก่คนที่หาอุปาทานมิได้ไม่ ฉันนั้นเหมือนกั

สมัยใด เปลวไฟถูกลมพัด ย่อมไปไกลได้ เราย่อมบัญญัติเชื้อ คือ ลมนั้น เพราะว่าสมัยนั้น ลมย่อมเป็นเชื้อของเปลวไฟนั้น

สมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ด้วย ไม่เข้าถึงกายอันใดอันหนึ่งด้วย เราย่อมบัญญัติอุปาทาน คือ ตัณหา เพราะว่าสมัยนั้น ตัณหาย่อมเป็นเชื้อของสัตว์นั้น

 

 

อ้างอิง:
(๑) สัมปสาทนียสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ ข้อที่ ๗๗ หน้า ๗๘
(๒) ภยสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๑๔๖ หน้า ๒๒๘
(๓) มหาตัณหาสังขยสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ ข้อที่ ๕๕๒ หน้า ๓๔๒
(๔) กุตุหลสาลาสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ ข้อที่ ๘๐๐
 
 

คำต่อไป