(๑) กถาวัตถุ ๓ อย่าง คือ
พูดถ้อยคำปรารภถึงอดีตกาลว่า อดีตกาลได้มีแล้วอย่างนี้ ๑
พูดถ้อยคำปรารภถึงอนาคตกาลว่า อนาคตกาลจักมีอย่างนี้ ๑
พูดถ้อยคำปรารภถึงปัจจุบันกาลว่า ปัจจุบันกาลย่อมมีอย่างนี้ ๑
(๒) กถาวัตถุ ๑๐ อย่าง คือ
อัปปิจฉกถา ๑ (เรื่องความมักน้อย)
สันตุฏฐิกถา ๑ (เรื่องความสันโดษ)
ปวิเวกกถา ๑ (เรื่องความสงัด)
อสังสัคคกถา ๑ (เรื่องความไม่คลุกคลี)
วิริยารัมภกถา ๑ (เรื่องการปรารภความเพียร)
สีลกถา ๑ (เรื่องศีล)
สมาธิกถา ๑ (เรื่องสมาธิ)
ปัญญากถา ๑ (เรื่องปัญญา)
วิมุตติกถา ๑ (เรื่องวิมุตติ)
วิมุตติญาณทัสสนกถา ๑ (เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ)
หากว่าภิกษุทั้งหลายยึดถือเอากถาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้ แล้วกล่าวเป็นกถาไซร้ เธอทั้งหลายพึงครอบงำเดชแม้ของพระจันทร์และพระอาทิตย์ ผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพมาก อย่างนี้ด้วยเดชได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงปริพาชกอัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย
(๓) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ตนเองเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑
ตนเองเป็นผู้สันโดษและกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สันโดษแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑
ตนเองเป็นผู้สงัด และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สงัดแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑
ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ และกล่าวกถาปรารภความไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑
ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวกถาปรารภความเพียรแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะและกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑
(๒) กถาวัตถุสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๖๙ หน้า ๑๑๕