Main navigation
มโนมยิทธิญาณ
Share:

(๑)(๒) ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือ นิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง

เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง 

(๑) นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ

(๒) ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง

(๓) ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์

(๔) สาวกได้บรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ในศาสดาใด ศาสดานี้ไม่ควรท้วงในโลก อนึ่ง การท้วงศาสดาเห็นปานนี้ ไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นธรรม ประกอบด้วยโทษ

 

อ้างอิง:
(๑) สามัญญผลสูตร มโนมยิทธิญาณ พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๙ ข้อที่ ๑๓๒ หน้า ๗๒-๗๓
(๒) สุภสูตร มโนมยิทธิญาณ พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๙ ข้อที่ ๓๓๐ หน้า ๒๙๙
(๓) เกวัฏฏสูตร มโนมยิทธิญาณ พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๙ ข้อที่ ๓๔๒ หน้า ๓๒๐-๓๒๑
(๔) โลหิจจสูตร มโนมยิทธิญาณ พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๙ ข้อที่ ๓๖๓ หน้า ๓๔๙-๓๕๐

คำต่อไป