Main navigation
โมหาคติ
Share:

(๑) โมหาคติ เป็น ๑ ใน อคติ ๔

(๒) คำว่า ไม่พึงถึง โมหาคติ นั้น ความว่า เมื่อถึงโมหาคติ ถึงอย่างไร

ภิกษุเป็นผู้กำหนัด ย่อมถึงด้วยอำนาจความกำหนัด เป็นผู้ขัดเคืองย่อมถึงด้วยอำนาจความขัดเคือง เป็นผู้หลง ย่อมถึงด้วยอำนาจความหลง เป็นผู้ลูบคลำ ย่อมถึงด้วยอำนาจทิฏฐิ

ภิกษุเป็นผู้หลง งมงาย ถูกโมหะครอบงำ

ย่อมแสดงอธรรมว่าธรรม แสดงธรรมว่าอธรรม

แสดงอวินัยว่าวินัย แสดงวินัยว่าอวินัย

แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ตรัสภาษิต ว่าพระตถาคตตรัสภาษิตแล้ว

แสดงสิ่งที่พระตถาคตตรัสภาษิตแล้ว ว่าพระตถาคตไม่ได้ตรัสภาษิต

แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคตทรงประพฤติมาแล้ว

แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงประพฤติมาแล้ว ว่าพระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมา

แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติว่าพระตถาคตทรงบัญญัติแล้ว

แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติแล้ว ว่าพระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติ

แสดงอนาบัติว่าอาบัติ แสดงอาบัติว่าอนาบัติ

แสดงอาบัติเบาว่าอาบัติหนัก แสดงอาบัติหนักว่าอาบัติเบา

แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าอาบัติไม่มีส่วนเหลือ

แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่าอาบัติมีส่วนเหลือ

แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ

แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ 

แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ

ภิกษุผู้ถึงโมหาคติเพราะวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์

ภิกษุผู้ถึงโมหาคติเพราะวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้ถูกขุดถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ อันวิญญูชนพึงติเตียน และย่อมประสพบาปมิใช่บุญมาก

ภิกษุเมื่อถึงโมหาคติ ย่อมถึงอย่างนี้

 

อ้างอิง
(๑) อคติสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ ข้อที่ ๑๙ หน้า ๑๘
(๒) ปริวาร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๘ ข้อที่ ๑๑๐๐ หน้า ๓๗๘

 

คำต่อไป