Main navigation
ปัญญา
Share:

(๑) ปัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด  ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา อินทรีย์คือปัญญา ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ ปัญญา  ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญินทรีย์มีในสมัยนั้น

(๒) บุคคลผู้มีปัญญา คือ บุคคลที่รู้ชัดในทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

บุคคลผู้มีปัญญาทราม คือ บุคคลที่ไม่รู้ชัดในทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ปัญญาควรเจริญ มีความรู้ยิ่ง ความกำหนดรู้ ความละ เป็นประโยชน์


(๓) ปัญญา ๓ อย่าง

๑. เสกขปัญญา (ปัญญาที่เป็นของพระเสขะ)
๒. อเสกขปัญญา (ปัญญาที่เป็นของพระอเสขะ)
๓. เนวเสกขานาเสกขปัญญา (ปัญญาที่เป็นของพระเสขะก็ไม่ใช่ของพระอเสขะก็ไม่ใช่)

ปัญญาอีก ๓ อย่าง

๑. จินตามยปัญญา (ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด)
๒. สุตมยปัญญา (ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง)
๓. ภาวนามยปัญญา (ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรม)


(๔) จินตามยปัญญา

ในการงานทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในศิลปะทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในวิชาทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี บุคคลมิได้ฟังจากผู้อื่น ย่อมได้กัมมัสสกตาญาณ หรือย่อมได้สัจจานุโลมิกญาณ ว่ารูปไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ย่อมได้อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณอันใด ซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า จินตามยปัญญา

สุตมยปัญญา

ในการงานทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในศิลปะทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในวิชาทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี บุคคลได้ฟังจากผู้อื่นแล้ว จึงได้กัมมัสสกตาญาณ หรือได้สัจจานุโลมิกญาณ ว่ารูปไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ได้อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณ อันใด ซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า สุตมยปัญญา (ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณ มหาวรรค ญาณกถา)

ภาวนามยปัญญา

ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมด เรียกว่า ภาวนามยปัญญา


เหตุปัจจัยให้ได้ปัญญา

(๕) เหตุปัจจัย ๘ ประการเพื่อได้ปัญญาอันยังไม่ได้ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว

๑.  อาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรักและความเคารพไว้อย่างแรงกล้า

๒.  เข้าไปหาแล้วไต่ถาม สอบถามเป็นครั้งคราวว่าภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมเปิดเผยข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้แจ้งข้อที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งและบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายประการแก่เธอ

๓.  ฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมยังความสงบ ๒ อย่าง คือ ความสงบกายและความสงบจิตให้ถึงพร้อม

๔.  เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรมีปรกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

๕.  เป็นพหูสูต จำสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก จำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง

๖.  ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความพร้อมมูลแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม

๗.  ไม่พูดเรื่องต่าง ๆ ไม่พูดเรื่องไม่เป็นประโยชน์ ย่อมแสดงธรรมเองบ้าง ย่อมเชื้อเชิญผู้อื่นให้แสดงธรรมบ้าง ย่อมไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่างพระอริยเจ้า

๘.  เธอพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า

รูปเป็นดังนี้
ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้
ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้

เวทนาเป็นดังนี้
ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้
ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้

สัญญาเป็นดังนี้
ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้
ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้

สังขารทั้งหลายเป็นดังนี้
ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้
ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้

วิญญาณเป็นดังนี้
ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้


ปัญญาเป็นกำลังอย่างหนึ่ง

(๖) พละ ๗ ประการนี้ คือ

ศรัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปปพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ

ก็ปัญญาพละเป็นไฉน

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่กำหนดความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาพละ

(๗) กำลังคือปัญญาเป็นไฉน

ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล

ธรรมเหล่าใดมีโทษ นับว่ามีโทษ ธรรมเหล่าใดไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ

ธรรมเหล่าใดดำ นับว่าดำ ธรรมเหล่าใดขาว นับว่าขาว

ธรรมเหล่าใดไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดควรเสพ นับว่าควรเสพ

ธรรมเหล่าใดไม่สามารถทำความเป็นพระอริยะ นับว่าไม่สามารถทำความเป็นอริยะ

ธรรมเหล่าใดสามารถทำความเป็นพระอริยะ นับว่าสามารถทำความเป็นพระอริยะ

ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันบุคคลเห็นแจ้ง ประพฤติได้ด้วยปัญญา

นี้เรียกว่ากำลัง คือ ปัญญา

(๘) กำลังคือปัญญา พึงเห็นในอริยสัจ ๔


ปัญญาเป็นเลิศ เป็นยอด

(๙) กำลัง ๕ ประการนี้ คือ กำลัง คือ ศรัทธา ๑ กำลัง คือ วิริยะ ๑ กำลัง คือ สติ ๑ กำลัง คือ สมาธิ ๑ กำลัง คือ ปัญญา ๑

บรรดากำลัง ๕ ประการนี้ กำลังคือปัญญา เป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม


ปัญญาเป็นทรัพย์อย่างหนึ่ง

(๑๐) ก็ทรัพย์คือปัญญาเป็นไฉน

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันหยั่งถึงความตั้งขึ้นและความเสื่อมไป เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่าทรัพย์ คือ ปัญญา


ผู้มีปัญญาใหญ่

(๑๑)  เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ว่าเป็นมหาบุรุษผู้มีปัญญาใหญ่ ธรรม ๔ ประการ คือ

บุคคลในโลกนี้เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อสุขแก่ชนหมู่มาก ยังประชุมชนมากให้ตั้งอยู่ในธรรมที่ควรรู้ เป็นอริยะ ได้แก่ความเป็นผู้มีกัลยาณธรรม ความเป็นผู้มีกุศลธรรม ๑

บุคคลนั้นจำนงเพื่อตรึกวิตกใด ย่อมตรึกวิตกนั้น ไม่จำนงเพื่อตรึกวิตกใด ย่อมไม่ตรึกวิตกนั้น จำนงเพื่อดำริเหตุที่พึงดำริใด ย่อมดำริเหตุที่พึงดำรินั้นได้ ไม่จำนงเพื่อดำริเหตุที่พึงดำริใด ย่อมไม่ดำริเหตุที่พึงดำรินั้น เป็นผู้ถึงความชำนาญแห่งใจในคลองแห่งวิตกทั้งหลาย ๑

เป็นผู้มีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑

กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ๑


ปฏิปทาให้มีปัญญาทราม ปัญญาดี

(๑๒) ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทราม

ผู้ไม่เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญาทราม

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทรามนี้ คือ ไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาดี

ผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไปไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญามาก

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามากนี้ คือ เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน


ปัญญา ๑๖ ประการ (โสฬสปัญญานิทเทส)

(๑๓) ธรรม ๔ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ

ได้เฉพาะซึ่งปัญญา ๑
เพื่อความเจริญแห่งปัญญา ๒
เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา ๓ (มหาปัญญา)
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก (ปุถุปัญญา) ๔
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง (วิบูลปัญญา) ๕
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ ๖
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง (คัมภีรปัญญา)  ๗
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้ (อัสสามันตปัญญา) ๘
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน (ภูริปัญญา) ๙
เพื่อความเป็นผู้มีมากด้วยปัญญา (ปัญญาพาหุลละ) ๑๐
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว (สีฆปัญญา) ๑๑
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลัน (ลหุปัญญา) ๑๒
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง (หาสปัญญา) ๑๓
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป (ชวนปัญญา) ๑๔
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม (ติกขปัญญา) ๑๕
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาทำลายกิเลส (นิพเพธิกปัญญา) ๑๖

๔ ประการเป็นไฉน คือ

สัปปุริสสังเสวะ (คบสัตบุรุษ) ๑
สัทธรรมสวนะ (ฟังพระสัทธรรม) ๑
โยนิโสมนสิการ (การพิจารณาโดยแยบคาย) ๑
ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม) ๑

การได้ปัญญา เป็นอย่างไร คือ

การได้ การได้เฉพาะ การถึง การถึงเฉพาะ การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การเข้าถึงพร้อมซึ่งมัคคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ อภิญญาญาณ ๖ ญาณ ๗๓ ญาณ ๗๗ นี้ชื่อว่าการได้ปัญญาในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา

ความเจริญแห่งปัญญา เป็นอย่างไร คือ

ปัญญาของพระเสขะ ๗ จำพวกและของกัลยาณปุถุชนย่อมเจริญ ปัญญาของพระอรหันต์ย่อมเจริญ ชื่อว่าความเจริญด้วยปัญญาที่เจริญแล้ว นี้ชื่อว่าความเจริญแห่งปัญญาในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา

ความไพบูลย์แห่งปัญญา เป็นอย่างไร คือ

ปัญญาของพระเสขะ ๗ จำพวกและของกัลยาณปุถุชนย่อมถึงความไพบูลย์ ปัญญาของพระอรหันต์ที่ถึงความไพบูลย์แล้ว นี้ชื่อว่าความไพบูลย์แห่งปัญญาในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา

อนัตตานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังมหาปัญญาให้บริบูรณ์

ปัญญามาก (ปุถุปัญญา) เป็นอย่างไร คือ

ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดอรรถได้มาก
เพราะกำหนดธรรมได้มาก
เพราะกำหนดนิรุตติได้มาก
เพราะกำหนดปฏิภาณได้มาก
เพราะกำหนดสีลขันธ์ได้มาก
เพราะกำหนดสมาธิขันธ์ได้มาก
เพราะกำหนดปัญญาขันธ์ได้มาก
เพราะกำหนดวิมุตติขันธ์ได้มาก
เพราะกำหนดวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ได้มาก
เพราะกำหนดฐานะและอฐานะได้มาก
เพราะกำหนดวิหารสมาบัติได้มาก
เพราะกำหนดอริยสัจได้มาก
เพราะกำหนดสติปัฏฐานได้มาก
เพราะกำหนดสัมมัปปธานได้มาก
เพราะกำหนดอิทธิบาทได้มาก
เพราะกำหนดอินทรีย์ได้มาก
เพราะกำหนดพละได้มาก
เพราะกำหนดโพชฌงค์ได้มาก
เพราะกำหนดอริยมรรคได้มาก
เพราะกำหนดสามัญญผลได้มาก
เพราะกำหนดอภิญญาได้มาก
เพราะกำหนดนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้มาก

นี้ชื่อว่าปัญญามาก ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก

ปัญญา ๘ ประการนี้ (ชวนปัญญา นิพเพธิกปัญญา นิพเพธิกปัญญา ติกขปัญญา วิบูลปัญญา คัมภีรปัญญา อัสสามันตปัญญา ความเป็นบัณฑิต) ย่อมยังปุถุปัญญาให้บริบูรณ์

การพิจารณาเห็นอนัตตาในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมยังมหาปัญญาให้บริบูรณ์

ปัญญากว้างขวาง (วิบูลปัญญา) เป็นอย่างไร คือ

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในธาตุต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในอายตนะต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในปฏิจจสมุปบาทต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในความได้เนือง ๆ ซึ่งความว่างต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในอรรถต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในธรรมต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในนิรุตติต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในปฏิภาณต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในสีลขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในสมาธิขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในปัญญาขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในวิมุตติขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในฐานะและอฐานะต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในวิหารสมาบัติต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในอริยสัจต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในสติปัฏฐานต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในสัมมัปปธานต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในอิทธิบาทต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในอินทรีย์ต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในพละต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในโพชฌงค์ต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในอริยมรรคต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในสามัญญผลต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในอภิญญาต่าง ๆ กว้างขวาง

ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งเหนือกว่าธรรมที่ทั่วไปแก่ปุถุชน

นี้ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง

วิราคานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิบูลปัญญาให้บริบูรณ์

การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะที่บุคคลเจริญแล้ว ย่อมยังวิบูลปัญญาให้บริบูรณ์

ปัญญาไพบูลย์ เป็นอย่างไร คือ

ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดอรรถไพบูลย์
เพราะกำหนดธรรมไพบูลย์
เพราะกำหนดนิรุตติไพบูลย์
เพราะกำหนดปฏิภาณไพบูลย์
เพราะกำหนดสีลขันธ์ไพบูลย์
เพราะกำหนดสมาธิขันธ์ไพบูลย์
เพราะกำหนดปัญญาขันธ์ไพบูลย์
เพราะกำหนดวิมุตติขันธ์ไพบูลย์
เพราะกำหนดวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ไพบูลย์
เพราะกำหนดฐานะและอฐานะไพบูลย์
เพราะกำหนดวิหารสมาบัติไพบูลย์
เพราะกำหนดอริยสัจไพบูลย์
เพราะกำหนดสติปัฏฐานไพบูลย์
เพราะกำหนดสัมมัปปธานไพบูลย์
เพราะกำหนดอิทธิบาทไพบูลย์
เพราะกำหนดอินทรีย์ไพบูลย์
เพราะกำหนดพละไพบูลย์
เพราะกำหนดโพชฌงค์ไพบูลย์
เพราะกำหนดอริยมรรคไพบูลย์
เพราะกำหนดสามัญญผลไพบูลย์
เพราะกำหนดอภิญญาไพบูลย์
เพราะกำหนดนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งไพบูลย์

นี้ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์

ปัญญาลึกซึ้ง (คัมภีรปัญญา) เป็นอย่างไร คือ

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในขันธ์ลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในธาตุลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอายตนะลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในปฏิจจสมุปบาทลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในความได้เนือง ๆ ซึ่งความว่างต่างๆ ลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอรรถต่า งๆ ลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในธรรมต่าง ๆ ลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในนิรุตติต่าง ๆ ลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในปฏิภาณต่าง ๆ ลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในสีลขันธ์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในสมาธิขันธ์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในปัญญาขันธ์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในวิมุตติขันธ์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในฐานะและอฐานะต่าง ๆ ลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในวิหารสมาบัติต่าง ๆ ลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอริยสัจต่าง ๆ ลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในสติปัฏฐานต่าง ๆ ลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในสัมมัปปธานต่าง ๆ ลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอิทธิบาทต่าง ๆ ลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอินทรีย์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในพละต่าง ๆ ลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในโพชฌงค์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอริยมรรคต่าง ๆ ลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในสามัญญผลต่าง ๆ ลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอภิญญาลึกซึ้ง

ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในนิพพานที่เป็นประโยชน์ลึกซึ้ง

นี้ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง

นิโรธานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังคัมภีรปัญญา (ปัญญาลึกซึ้ง) ให้บริบูรณ์

การพิจารณาเห็นความดับในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังคัมภีรปัญญา (ปัญญาลึกซึ้ง) ให้บริบูรณ์

ปัญญาไม่ใกล้ (อัสสามันตปัญญา) เป็นอย่างไร คือ

อัตถปฏิสัมภิทาบุคคลใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดอรรถ

ธัมมปฏิสัมภิทาบุคคลใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดธรรม

นิรุตติปฏิสัมภิทาบุคคลใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดนิรุตติ

ปฏิภาณปฏิสัมภิทาบุคคลใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดปฏิภาณ

อรรถ ธรรม นิรุตติ และปฏิภาณของบุคคลนั้นใครอื่นสามารถจะถึงได้ และบุคคลนั้นก็เป็นผู้หนึ่งที่ปุถุชนอื่น ๆ ไม่สามารถจะเทียมทันได้ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงเป็นปัญญาไม่ใกล้

ปัญญาของกัลยาณปุถุชนห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของบุคคลที่ ๘ เมื่อเทียบกับกัลยาณปุถุชน

บุคคลที่ ๘ มีปัญญาไม่ใกล้

ปัญญาของบุคคลที่ ๘ ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระโสดาบัน เมื่อเทียบกับบุคคลที่ ๘

พระโสดาบันมีปัญญาไม่ใกล้

ปัญญาของพระโสดาบันห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระสกทาคามี เมื่อเทียบกับพระโสดาบัน

พระสกทาคามีมีปัญญาไม่ใกล้

ปัญญาของพระสกทาคามีห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระอนาคามี เมื่อเทียบกับพระสกทาคามี

พระอนาคามีมีปัญญาไม่ใกล้

ปัญญาของพระอนาคามีห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระอรหันต์ เมื่อเทียบกับพระอนาคามี

พระอรหันต์มีปัญญาไม่ใกล้

ปัญญาของพระอรหันต์ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อเทียบกับพระอรหันต์

พระปัจเจกพุทธเจ้ามีปัญญาไม่ใกล้

เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้า และโลกพร้อมทั้งเทวโลก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้เลิศ ทรงมีปัญญาไม่ใกล้

พระผู้มีพระภาคทรงฉลาดในประเภทแห่งปัญญา ทรงมีญาณแตกฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุเวสารัชชญาณ ๔ เป็นผู้ทรงทสพลญาณ... มีพระญาณหาที่สุดมิได้ มีพระเดชหาที่สุดมิได้ มีพระยศหาที่สุดมิได้

ทรงมั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก มีพระปัญญาเป็นทรัพย์ ทรงเป็นผู้นำ เป็นผู้นำไปโดยวิเศษ เป็นผู้ตามแนะนำ ทรงให้รู้จักประโยชน์ ให้พินิจพิจารณา ทรงเพ่งประโยชน์ ทรงทำให้เลื่อมใสได้ ทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรคที่ยังมิได้ตรัสบอก ทรงรู้จักมรรค ทรงรู้แจ้งมรรค ทรงฉลาดในมรรค และสาวกของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ดำเนินไปตามมรรคอยู่ในบัดนี้ จะเพียบพร้อมด้วยศีลาทิคุณในภายหลัง

พระผู้มีพระภาคทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น มีพระจักษุ มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นดุจพระพรหม ตรัส บอก นำความหมายออกมา ประทานอมตธรรม เป็นพระธรรมสามี เป็นพระตถาคต ไม่มีสิ่งที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นยังไม่ทรงทราบ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงรู้แจ้ง ไม่ทรงทำให้แจ้ง มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญา

ธรรมทั้งปวงรวมทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันย่อมมาสู่คลองเฉพาะพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าโดยอาการทั้งปวง

ธรรมดาประโยชน์ที่ควรแนะนำอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นธรรมที่ควรรู้มีอยู่ คือ ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในภพปัจจุบัน หรือประโยชน์ในภพหน้า ประโยชน์ตื้นหรือประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับหรือประโยชน์ปิดบัง ประโยชน์ที่ควรแนะนำหรือประโยชน์ที่แนะนำแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษหรือประโยชน์ ที่ไม่มีกิเลส ประโยชน์ที่ผ่องแผ้วหรือประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปภายในพระพุทธญาณ

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทุกอย่างย่อมเป็นไปตามพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า

พระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่ติดขัดในอดีต อนาคตปัจจุบัน บทธรรมที่ควรแนะนำมีอยู่เพียงใด พระญาณก็มีเพียงนั้น พระญาณมีอยู่เพียงใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็ย่อมมีพระญาณเป็นส่วนสุดรอบ พระญาณย่อมไม่เป็นไปเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็มีอยู่ไม่เกินกว่าพระญาณ ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน เหมือนชั้นแห่งผอบ ๒ ชั้นทับกันสนิทพอดี ชั้นผอบด้านล่างก็ไม่เกินด้านบน ชั้นผอบด้านบนก็ไม่เกินด้านล่าง ชั้นผอบทั้ง ๒ ย่อมวางประกบกันที่ส่วนสุดโดยรอบของกันและกัน

พระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าย่อมเป็นไปในธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งปวงนับเนื่องด้วยความนึก นับเนื่องด้วยความหวัง นับเนื่องด้วยมนสิการ นับเนื่องด้วยจิตตุปบาทของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า

พระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าย่อมเป็นไปในสัตว์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคทรงทราบอัธยาศัย อนุสัย จริต อธิมุตติของเหล่าสัตว์ทุกจำพวก ทรงรู้จักเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ที่พระองค์พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก เป็นภัพพสัตว์ (ผู้สมควรบรรลุธรรม) และอภัพพสัตว์ (ผู้ไม่สมควรบรรลุธรรม)

โลกพร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ย่อมเป็นไปภายในพระพุทธญาณ พระพุทธสาวกทั้งหลายผู้เสมอกับพระสารีบุตรด้วยปัญญาก็ย่อมเป็นไปในส่วนแห่งพระพุทธญาณ พระพุทธญาณย่อมแผ่ครอบคลุมปัญญาของเทวดาและมนุษย์อยู่

เหล่าบัณฑิตผู้เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นคหบดี เป็นสมณะ ผู้มีปัญญาละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น เหมือนนายขมังธนูสามารถยิงเนื้อทราย ดุจจะเที่ยวทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญาของตน บัณฑิตเหล่านั้นพากันปรุงแต่งปัญหาเข้าไปหาพระตถาคตทูลถามปัญหาทั้งลี้ลับและปิดบัง ปัญหาเหล่านั้นที่พระผู้มีพระภาคทรงซักไซ้และตรัสแก้แล้วเป็นปัญหามีเหตุให้ทรงแสดง  พระผู้มีพระภาคทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญาเพราะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคจึงทรงเป็นผู้เลิศ มีพระปัญญาไม่ใกล้

นี้ชื่อว่าปัญญาไม่ใกล้ ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้

ปฏินิสสัคคานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังอัสสามันตปัญญา (ปัญญาไม่ใกล้) ให้บริบูรณ์

การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ ฯลฯ ชรามรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังอัสสามันตปัญญาให้บริบูรณ์

ปัญญาดุจแผ่นดิน (ภูริปัญญา) เป็นอย่างไร คือ

ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำราคะ

ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำราคะแล้ว

ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโทสะ

ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโทสะแล้ว

ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโมหะ

ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโมหะแล้ว

ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโกธะ

ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโกธะแล้ว ฯลฯ

ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำอุปนาหะ ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ ฯลฯ กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ

ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำกรรมอันเป็นเหตุให้เป็นไปสู่ภพทั้งปวง

ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำกรรมอันเป็นเหตุให้เป็นไปสู่ภพทั้งปวงแล้ว

ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยีราคะที่เป็นข้าศึก

ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยีโทสะที่เป็นข้าศึก

ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยีโมหะที่เป็นข้าศึก

ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยีโกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ ฯลฯ กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ

ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยีกรรมที่เป็นเหตุไปสู่ภพทั้งปวงที่เป็นข้าศึก

แผ่นดินท่านกล่าวว่า ภูริ บุคคลประกอบด้วยปัญญาที่กว้างขวางไพบูลย์เสมอด้วยแผ่นดินนั้น เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน

อีกประการหนึ่ง คำว่า ภูริ นี้เป็นชื่อของปัญญา ปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน เป็นปัญญาทำลายกิเลส เป็นปัญญาเครื่องแนะนำ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน

นี้ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน

ความเป็นผู้มากด้วยปัญญา (ปัญญาพาหุลละ) เป็นอย่างไร คือ

บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้หนักด้วยปัญญา เป็นผู้ประพฤติด้วยปัญญามีปัญญาเป็นที่อาศัย น้อมไปด้วยปัญญา มีปัญญาเป็นธงชัย มีปัญญาเป็นยอด มีปัญญาเป็นใหญ่ มากด้วยการเลือกเฟ้น มากด้วยการค้นคว้า มากด้วยการพิจารณา มากด้วยการเพ่งพินิจ มีการเพ่งพิจารณาเป็นธรรมดา

ประพฤติอยู่ด้วยปัญญาที่แจ่มแจ้ง มีความประพฤติงดเว้นด้วยปัญญาที่แจ่มแจ้ง หนักในปัญญา มากด้วยปัญญา โน้มไปในปัญญา น้อมไปในปัญญา เงื้อมไปในปัญญา น้อมจิตไปในปัญญา หลุดพ้นไปด้วยปัญญา มีปัญญาเป็นใหญ่

เปรียบเหมือนภิกษุผู้หนักในคณะ ท่านเรียกว่า “ผู้มากด้วยคณะ” ผู้หนักในจีวร ท่านเรียกว่า “ผู้มากด้วยจีวร” ผู้หนักในบาตร ท่านเรียกว่า “ผู้มากด้วยบาตร” ผู้หนักในเสนาสนะ ท่านเรียกว่า “ผู้มากด้วยเสนาสนะ”

นี้ชื่อว่าความเป็นผู้มากด้วยปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา

ปัญญาเร็ว (สีฆปัญญา) เป็นอย่างไร คือ

ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญศีลได้เร็วไว

ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญอินทรียสังวรได้เร็วไว

ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญโภชเนมัตตัญญุตาได้เร็วไว

ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญชาคริยานุโยคได้เร็วไว

ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญสีลขันธ์ ฯลฯ สมาธิขันธ์ ฯลฯ ปัญญาขันธ์ ฯลฯ วิมุตติขันธ์ ฯลฯ ได้เร็วไว้

ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ได้เร็วไว

ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะรู้แจ้งฐานะและอฐานะได้เร็วไว

ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญวิหารสมาบัติได้เร็วไว

ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะรู้แจ้งอริยสัจได้เร็วไว

ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญสติปัฏฐานได้เร็วไว

ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญสัมมัปปธานได้เร็วไว

ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญอิทธิบาทได้เร็วไว

ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญอินทรีย์ได้เร็วไว

ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญพละได้เร็วไว

ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญโพชฌงค์ได้เร็วไว

ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญอริยมรรคได้เร็วไว

ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะทำให้แจ้งสามัญญผลได้เร็วไว

ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะรู้แจ้งอภิญญาได้เร็วไว

ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะทำให้แจ้งนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้เร็วไว

นี้ชื่อว่าปัญญาเร็ว ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว

ปัญญาพลัน (ลหุปัญญา) เป็นอย่างไร คือ

ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญศีลได้เร็วพลัน

ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญอินทรียสังวรได้เร็วพลัน

ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญโภชเนมัตตัญญุตาได้เร็วพลัน

ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญชาคริยานุโยคได้เร็วพลัน

ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญสีลขันธ์ ฯลฯ สมาธิขันธ์ ฯลฯ ปัญญาขันธ์ ฯลฯ วิมุตติขันธ์ ฯลฯ

ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ได้เร็วพลัน

ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะรู้แจ้งฐานะและอฐานะได้เร็วพลัน

ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญวิหารสมาบัติได้เร็วพลัน

ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะรู้แจ้งอริยสัจได้เร็วพลัน

ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ สัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ อินทรีย์ ฯลฯ พละ ฯลฯ โพชฌงค์ ฯลฯ อริยมรรค ได้เร็วพลัน

ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะทำให้แจ้งสามัญญผลได้เร็วพลัน

ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะรู้แจ้งอภิญญาได้เร็วพลัน

ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะทำให้แจ้งนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้เร็วพลัน

นี้ชื่อว่าปัญญาพลัน ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลัน

ปัญญาร่าเริง (หาสปัญญา) เป็นอย่างไร คือ

บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญศีล บำเพ็ญอินทรียสังวร บำเพ็ญโภชเนมัตตัญญุตา บำเพ็ญชาคริยานุโยค เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง

บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญสีลขันธ์ ฯลฯ สมาธิขันธ์ ฯลฯ ปัญญาขันธ์ ฯลฯ วิมุตติขันธ์ ฯลฯ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง

บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก รู้แจ้งฐานะและอฐานะ... บำเพ็ญวิหารสมาบัติให้เต็มรอบ... รู้แจ้งอริยสัจ... เจริญสติปัฏฐาน... เจริญสัมมัปปธาน... เจริญอิทธิบาท... เจริญอินทรีย์... เจริญพละ... เจริญโพชฌงค์... เจริญอริยมรรค... เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง

บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก ทำให้แจ้งสามัญญผล... ทำให้แจ้งอภิญญา... ทำให้แจ้งนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ด้วยปัญญานั้น เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง

นี้ชื่อว่าปัญญาร่าเริง ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง

ปัญญา ๙ ประการนี้ (ชวนปัญญา นิพเพธิกปัญญา มหาปัญญา ติกขปัญญา วิบูลปัญญา คัมภีรปัญญา อัสสามันตปัญญา ความเป็นบัณฑิต ปุถุปัญญา) ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังหาสปัญญา (ปัญญาร่าเริง) ให้บริบูรณ์

หาสปัญญาเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา

อรรถปฏิสัมภิทาเป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดอรรถแห่งหาสปัญญานั้น

ธรรมปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดธรรมแห่งหาสปัญญานั้น

นิรุติปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดนิรุติแห่งหาสปัญญานั้น

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดปฏิภาณแห่งหาสปัญญานั้น

ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้ เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะหาสปัญญานั้น

ปัญญาแล่นไป (ชวนปัญญา) เป็นอย่างไร คือ

ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่รูปทั้งปวงที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต มีอยู่ในที่ไกลหรือมีอยู่ในที่ใกล้ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปโดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณทั้งปวงที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต มีอยู่ในที่ไกลหรือมีอยู่ในที่ใกล้ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปโดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่จักขุทั้งปวงที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต มีอยู่ในที่ไกลหรือมีอยู่ในที่ใกล้ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปโดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่ชราและมรณะที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปโดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่ารูป เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เที่ยงเพราะมีสภาวะสิ้นไป ชื่อว่าเป็นทุกข์เพราะมีสภาวะเป็นภัย ชื่อว่าเป็นอนัตตาเพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสาร แล้วพลันแล่นไปในนิพพานซึ่งเป็นความดับแห่งรูป เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชราและมรณะ

ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่ารูป เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา แล้วพลันแล่นไปในนิพพานซึ่งเป็นความดับแห่งรูป เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯชราและมรณะ

นี้ชื่อว่าปัญญาแล่นไป ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป

อนิจจานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์

การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งในส่วนอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์

การพิจารณาเห็นทุกข์ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งในส่วนอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์

การพิจารณาเห็นอนัตตาในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบันในรูป ทั้งในส่วนอดีต อนาคต และปัจจุบัน ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์

การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่ายในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์

การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์

การพิจารณาเห็นความดับในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์

การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์

ปัญญาเฉียบแหลม (ติกขปัญญา) เป็นอย่างไร คือ

ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะทำลายกิเลสได้ฉับพลัน

ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับกามวิตกที่เกิดขึ้นไว้ ละ บรรเทา ทำกามวิตกที่เกิดขึ้นให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป

ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นไว้ ละ บรรเทา ทำพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป

ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นไว้ ละ บรรเทา ทำวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป

ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นไว้ ละ บรรเทา ทำบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป

ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ โกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ ฯลฯ กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ ที่เกิดขึ้นไว้ ละ บรรเทา ฯลฯ ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป

ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวงที่เกิดขึ้นไว้ ละ บรรเทา ทำกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวงที่เกิดขึ้นให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไปแล้ว

ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะทำให้บรรลุ ทำให้แจ้ง ทำให้ถูกต้องอริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ ณ อาสนะเดียว

นี้ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม

นิพพิทานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังติกขปัญญาให้บริบูรณ์

การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่ายในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังติกขปัญญาให้บริบูรณ์

ปัญญาชำแรกกิเลส (นิพเพธิกปัญญา) เป็นอย่างไร คือ

บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มากด้วยความสะดุ้ง เป็นผู้มากด้วยความหวาดเสียว เป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย เป็นผู้มากด้วยความระอา เป็นผู้มากด้วยความไม่พอใจ เบือนหน้าออก ไม่ยินดีในสังขารทั้งปวง ย่อมชำแรก ทำลายกองโลภะ กองโทสะ กองโมหะ ที่ไม่เคยชำแรก ไม่เคยทำลาย (ด้วยปัญญา) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส

บุคคลบางคนในโลกนี้... ย่อมชำแรก ทำลายโกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ ฯลฯ กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มากด้วยความสะดุ้ง เป็นผู้มากด้วยความหวาดเสียว เป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย เป็นผู้มากด้วยความระอา เป็นผู้มากด้วยความไม่พอใจ เบือนหน้าออก ไม่ยินดีในสังขารทั้งปวง ย่อมชำแรก ทำลายกรรม ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวงที่ไม่เคยชำแรก ไม่เคยทำลาย (ด้วยปัญญา) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส

นี้ชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส

ทุกขานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังนิพเพธิกปัญญาให้บริบูรณ์

การพิจารณาเห็นทุกข์ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมยังนิพเพธิกปัญญาให้บริบูรณ์

ปัญญาเหล่านี้เรียกว่า ปัญญา ๑๖ ประการ

 

 

อ้างอิง:
(๑) ธรรมสังคณีปกรณ์ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๔ ข้อที่ ๓๑
(๒) มหาเวทัลลสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ ข้อที่ ๔๙๔ หน้า ๓๗๙-๓๘๐
(๓) ปาฏิกวรรค พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ ข้อที่ ๒๒๘ หน้า
(๔) ติกกนิเทศ วิภังคปกรณ์ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๕ ข้อที่ ๘๐๔ หน้า
(๕) ปัญญาสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๙๒ หน้า ๑๑๘-๑๑๙
(๖) พลสูตรที่ ๒ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๔
(๗) พลสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๒๐๙ หน้า ๒๙๒
(๘) ทัฏฐัพพสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๑๕ หน้า ๑๑
(๙) ปุนกูฏสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๑๖ หน้า ๑๑
(๑๐) ธนสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๔๗ หน้า
(๑๑) วัสสการสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ ข้อที่ ๓๕ หน้า ๓๖
(๑๒)  จูฬกัมมวิภังคสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ ข้อที่ ๕๙๔-๕๙๕ หน้า ๒๙๑-๒๙๒
(๑๓) โสฬสปัญญานิทเทส พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ ข้อที่ ๓-๗
       ปัญญาวรรค มหาปัญญากถา พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๑ ข้อที่ ๖๕๙-๖๖๑
 
 

คำต่อไป