Main navigation
ปหานะ
Share:

(๑) ปหานะ คือ ธรรมที่ควรละ

ธรรมอย่างหนึ่งควรละ คือ

อัสมิมานะ

ธรรม ๒ อย่างควรละ คือ

อวิชชา และภวตัณหา

ธรรม ๓ อย่างควรละ คือ ตัณหา ๓

กามตัณหา
ภวตัณหา
วิภวตัณหา

ธรรม ๔ อย่างควรละ คือ

โอฆะ ๔ คือ

กาม ๑
ภพ ๑
ทิฏฐิ ๑
อวิชชา ๑

ธรรม ๕ อย่างควรละ คือ นิวรณ์ ๕

กาม ๑
พยาบาท ๑
ความหดหู่ ๑
ความฟุ้งซ่าน ๑
ความสงสัยลังเล ๑

ธรรม ๖ อย่างควรละ คือ ตัณหา ๖

ตัณหาในรูป ๑
ตัณหาในเสียง ๑
ตัณหาในกลิ่น ๑
ตัณหาในรส ๑
ตัณหาในโผฏฐัพพะ ๑
ตัณหาในธรรมารมณ์ ๑

ธรรม ๗ อย่างควรละ ได้แก่

อนุสัย ๗ คือ

กามราคะ
ปฏิฆะ
ทิฏฐิ
ความสงสัยลังเล
มานะ
ภวราคะ
อวิชชา

ธรรม ๘ อย่างควรละ ได้แก่

มิจฉัตตะ ๘ คือ

ความเห็นผิด ๑ ความดำริผิด ๑ เจรจาผิด ๑
การงานผิด ๑ เลี้ยงชีพผิด ๑ พยายามผิด ๑
ระลึกผิด ๑ ตั้งใจมั่นผิด ๑

ธรรม ๙ อย่างควรละ ได้แก่

ธรรมอันมีมูลมาแต่ตัณหา ๙ คือ

๑. ความแสวงหาเพราะอาศัยตัณหา
๒. ความได้เพราะอาศัยความแสวงหา
๓. ความตกลงใจย่อมเพราะอาศัยการได้
๔. ความกำหนัดพอใจเพราะอาศัยความตกลงใจ
๕. ความกล้ำกลืนเพราะอาศัยความกำหนัด
๖. ความหวงแหนเพราะอาศัยความกล้ำกลืน
๗. ความตระหนี่เพราะอาศัยความหวงแหน
๘. การตามรักษาเพราะอาศัยความตระหนี่
๙. อกุศลธรรมอันลามก คือ ถือศัสตรา ความทะเลาะแก่งแย่ง วิวาทกัน กล่าวส่อเสียด และการพูดเท็จ เพราะอาศัยความรักษา

ธรรม ๑๐ อย่างควรละ ได้แก่

ความเห็นผิด
ความดำริผิด
เจรจาผิด
การงานผิด
เลี้ยงชีพผิด
พยายามผิด
ระลึกผิด
ตั้งใจผิด
ความรู้ผิด
ความหลุดพ้นที่ผิด


(๒) ปหานะ ๒ คือ

สมุจเฉทปหานะ ๑
ปฏิปัสสัทธิปหานะ ๑

สมุจเฉทปหานะ อันเป็นโลกุตรมรรค และปฏิปัสสัทธิปหานะอันเป็นโลกุตรผล ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญมรรค เครื่องให้ถึงความสิ้นไป

ปหานะ ๓ คือ

เนกขัมมะ เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกาม ๑

อรูปฌาน เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ๑

นิโรธ  เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งสังขตธรรมที่เกิดขึ้นแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ๑

บุคคลผู้ได้เนกขัมมะเป็นอันละและสละกามได้แล้ว
บุคคลผู้ได้อรูปฌานเป็นอันละและสละรูปได้แล้ว
บุคคลผู้ได้นิโรธเป็นอันละและสละสังขารได้แล้ว

ปหานะ ๔ คือ

บุคคลผู้แทงตลอดทุกขสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ๑

บุคคลผู้แทงตลอดสมุทัยสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยการละ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ๑

บุคคลผู้แทงตลอดนิโรธสัจอันเป็นการแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้ง ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ๑

บุคคลผู้แทงตลอดมรรคสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยการเจริญ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ๑

ปหานะ ๕ คือ

วิกขัมภนปหานะ (การละด้วยการข่มไว้) ๑
ตทังคปหานะ  (การละด้วยองค์นั้นๆ) ๑
สมุจเฉทปหานะ (การละด้วยการตัดขาด) ๑
ปฏิปัสสัทธิปหานะ (การละด้วยสงบระงับ) ๑
นิสสรณปหานะ (การละด้วยสลัดออกได้) ๑

การละนิวรณ์ด้วยการข่มไว้ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญปฐมฌาน

การละทิฐิด้วยองค์นั้น ๆ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญสมาธิอันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส

สมุจเฉทปหานะ อันเป็นโลกุตรมรรค

ปฏิปัสสัทธิปหานะอันเป็นโลกุตรผล ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญมรรคเครื่องให้ถึงความสิ้นไป

นิสสรณปหานะเป็นนิโรธ คือ นิพพาน

สิ่งทั้งปวงควรละ สิ่งทั้งปวงที่ควรละ คืออะไร

คือ จักขุควรละ รูปควรละ จักขุวิญญาณควรละ จักขุสัมผัสควรละ สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยควรละ

โสตะควรละ สัททะ โสตวิญญาณควรละ โสตสัมผัสควรละ สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัยควรละ

ฆานะควรละ คันธะ ฆานวิญญาณควรละ ฆานสัมผัสควรละ สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัยควรละ

ชิวหาควรละ รส ชิวหาวิญญาณควรละ ชิวหาสัมผัสควรละ สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยควรละ

กายควรละ โผฏฐัพพะ กายวิญญาณควรละ กายสัมผัสควรละ สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัยควรละ

มโนควรละ ธรรมารมณ์ควรละ มโนวิญญาณควรละ มโนสัมผัสควรละ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยควรละ

พระโยคาวจรเมื่อเห็นรูป (โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น) ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้

เมื่อเห็นเวทนา (โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น) ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้

เมื่อเห็นสัญญา (โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น) ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้

เมื่อเห็นสังขาร (โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น) ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้

เมื่อเห็นวิญญาณ (โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น) ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้

เมื่อเห็นจักขุ (โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น) ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้

เมื่อเห็นชราและมรณะ (โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น) ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้

เมื่อเห็นธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ)ได้ ธรรมใด ๆ ที่ละได้แล้ว ธรรมนั้น ๆ เป็นอันละได้แล้ว

 

 

อ้างอิง:
(๑) ทสุตตรสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง ๑๑/๓๖๔-๔๗๓/๒๕๑-๒๘๘
(๒) ตติยภาณวาร สุตตมยญาณ ญาณกถา ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๕ ข้อที่ ๖๔-๖๖
 
 
 

 

คำต่อไป