สังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ กิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี ๑๐ อย่าง คือ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่
๑. สักกายทิฎฐิ
๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตปรามาส
๔. กามฉันทะ
๕. พยาบาท
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่
๖. รูปราคะ
๗. อรูปราคะ
๘. มานะ
๙. อุทธัจจะ
๑๐. อวิชชา
พระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อต้นได้คือ หมดสักกายทิฏฐิ,วิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาส
พระสกทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ 4 และ 5 คือ กามราคะและปฏิฆะ ให้เบาบางลงด้วย
พระอนาคามี ละสังโยชน์ 5 ข้อแรกได้หมด
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ
อายตนะภายในและภายนอกเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
(๓) ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์เป็นไฉน
จักษุเป็นธรรม เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ เครื่องผูก เครื่องจองจำ คือสังโยชน์เหล่านั้น ย่อมเกิดที่จักษุ
หูเป็นธรรม เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ เครื่องผูก เครื่องจองจำ คือสังโยชน์เหล่านั้น ย่อมเกิดที่หู
ลิ้นเป็นธรรม เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ เครื่องผูก เครื่องจองจำ คือสังโยชน์เหล่านั้น ย่อมเกิดที่ลิ้น
กายเป็นธรรม เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ เครื่องผูก เครื่องจองจำ คือสังโยชน์เหล่านั้น ย่อมเกิดที่กาย
ใจเป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ เครื่องผูก เครื่องจองจำ คือสังโยชน์เหล่านั้น ย่อมเกิดที่ใจนี้
(๔) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักนัยน์ตา รู้จักรูป และรู้จักนัยน์ตาและรูปทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์
ภิกษุย่อมรู้จักหู รู้จักเสียง และรู้จักหูและเสียงทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์
ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น และรู้จักจมูกและกลิ่นทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์
ภิกษุย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส และรู้จักลิ้นและรสทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์
ภิกษุย่อมรู้จักกาย รู้จักสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย และรู้จักกายและสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกายทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์
ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จัก ธรรมารมณ์ และรู้จักใจและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของ
สังโยชน์
อนึ่งสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
(๕) เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละสังโยชน์ได้
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป... จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งโสต โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งเสียง... โสตวิญญาณ โสตสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งฆานะ โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งกลิ่น... ฆานวิญญาณ ฆานสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งชิวหา โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรส... ชิวหาวิญญาณ ชิวหาสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งกาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งโผฏฐัพพะ... กายวิญญาณ กายสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งมโน โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งธรรมารมณ์... มโนวิญญาณ มโนสัมผัส บุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้
บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละสังโยชน์ได้
(๖) เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร สังโยชน์จึงถึงความเพิกถอน
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป... จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งโสต โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งเสียง... โสตวิญญาณ โสตสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งฆานะ โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งกลิ่น... ฆานวิญญาณ ฆานสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งชิวหา โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรส... ชิวหาวิญญาณ ชิวหาสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งกาย โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งโผฏฐัพพะ... กายวิญญาณ กายสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งมโน โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน
บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งธรรมารมณ์... มโนวิญญาณ มโนสัมผัส บุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน
บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน
โพชฌงค์ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
(๗) โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
(๗) เอกธัมมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ ข้อที ๔๕๖ หน้า ๑๑๖