(๑) สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเกิดมีได้อย่างไร
ก่อนจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ภิกษุได้อบรมจิตที่จะน้อมไปเพื่อความเป็นจิตแท้
ธรรม ๒ อย่าง คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ มีอุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
(๒) ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ ไม่อยู่ในสัญญาเวทยิตนิโรธ
(๓) กุศลมูล คือ อโลภะ กุศลมูล คือ อโทสะ กุศลมูล คือ อโมหะ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของบุคคลผู้เข้าสัญญเวทยิตนิโรธ ไม่มี
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์ ในนิโรธสมาบัตินี้ ผู้เข้าก็ไม่มีสัญญา แม้ในภพแห่งอสัตว์นั้น ผู้เข้าถึงก็ไม่มีสัญญา ด้วยเหตุนั้นท่านจึงต้องกล่าวว่าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์
ไม่พึงกล่าวว่า ชนเหล่าหนึ่งเหล่าใด เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ชนเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์
(๔) สัญญาเวทยิตนิโรธไม่เป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เป็นกามาวจร ไม่เป็นอรูปาวจร
(๑)(๕) ก็การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นอย่างไร
ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
เราจักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
ว่าเรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
ว่าเราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว
ก็แต่ความคิดอันนำเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น อันท่านให้เกิดแล้วตั้งแต่แรก
เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ วจีสังขารดับก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารก็ดับ จิตตสังขารดับทีหลัง
ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ กายสังขารดับสงบ วจีสังขารดับสงบ จิตตสังขารดับสงบ แต่ยังไม่สิ้นอายุ ไออุ่นยังไม่สงบ อินทรีย์ผ่องใส
ส่วนคนที่ตายแล้ว มีกายสังขารดับสงบ มีวจีสังขารดับสงบ มีจิตตสังขารดับสงบ มีอายุสิ้นไป ไออุ่นสงบ อินทรีย์แตกกระจาย
ภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มิได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
เราจักออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
ว่าเรากำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
ว่าเราออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว
แต่ความคิดอันนำเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น ท่านให้เกิดแล้วแต่แรก
เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขารเกิดขึ้นก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารก็เกิดขึ้น วจีสังขารเกิดขึ้นทีหลัง
ผัสสะ ๓ ประการ ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ. คือ
ผัสสะชื่อสุญญตะ (รู้สึกว่าว่าง)
ผัสสะชื่ออนิมิตตะ (รู้สึกว่าไม่มีนิมิต)
และผัสสะชื่ออัปปณิหิตะ (รู้สึกว่าไม่มีที่ตั้ง)
ภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มีจิตน้อมไปในวิเวก โอนไปในวิเวก เอนไปในวิเวก
(๖) เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน อายตนะ ๒ ประการนี้ อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ และฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าแล้ว ออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ
(๒) อนุปทสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ ข้อที่ ๑๖๓ หน้า ๙๔
(๖) ฌาณสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๒๔๐ หน้า ๓๔๕